ข้อความต้นฉบับในหน้า
อีกอย่างหนึ่ง พืชที่บุคคลหว่านลงในที่นาดีถ้าฝนตกดีและไม่มีสิ่งเบียดเบียนจักงอกงามดี
ฉันใด สัตว์ทั้งหลายถ้าไม่มีอันตรายมาแทรกแซงก็จะอยู่ไปจนกระทั่งสิ้นอายุ ฉันนั้น
2. อกาลมรณะ ได้แก่ ความตายก่อนเวลา คือ ตายในเวลาที่ยังไม่ควรจะตาย เป็นการ
ตัดช่วงเจริญวัยของชีวิต เพราะมีกรรมมาตัดรอนให้ตายแต่เยาว์วัยหรือเมื่อยังหนุ่มสาว เช่น เจ็บ
ป่วยตาย ถูกฆ่าตาย ฆ่าตัวตาย ตายด้วยอุบัติเหตุ เป็นต้น
ผู้ที่ตายด้วยโรคอันมีลม หรือดี หรือเสมหะเป็นสมุฏฐาน หรือสิ่งทั้งสองกำเริบ หรือ
ฤดูแปรปรวน การรักษาร่างกายไม่ดี หรือผู้อื่นทำร้าย หิว กระหาย ถูกงูกัด ถูกยาพิษ ถูกไฟไหม้
จมน้ำ ถูกศาตราตาย เหล่านี้ เรียกว่าตายในเวลายังไม่ควรตายทั้งนั้น
เปรียบเหมือนผู้ที่ถูกงูกัด ถ้าได้ยามากำจัดเสียก่อน พิษงูนั้นก็หมดไป เรียกว่าหมดไป
ในเวลายังไม่ควรหมด ฉันใด ผู้ที่ตายในเวลายังไม่หมดอายุ ก็เรียกตายในเวลาไม่ควรตายฉันนั้น
หรือเหมือนระฆังที่มีผู้ตี ถ้ามีสิ่งมาขัดขวางเสียก่อน เสียงก็กังวานไม่สุดเสียงต้องหยุดลงฉันใด
พวกมีสิ่งขัดขวาง ก็ตายในเวลายังไม่ถึงที่สุดแห่งอายุฉันนั้น
ทั้งกาลมรณะและอกาลมรณะ ล้วนสงเคราะห์เข้าด้วยความขาดแห่งชีวิตินทรีย์จึงใช้ใน
การเจริญมรณานุสติได้ การระลึกถึงความตาย กล่าวคือความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ดังกล่าวมานี้
เรียกว่า มรณานุสติ
3.3 วิธีเจริญมรณานุสติ
เมื่อจะเจริญมรณานุสติ ควรปลีกตัวออกไปอยู่ในที่สงัด และส่งจิตไปจดจ่ออยู่กับ
อารมณ์นั้นโดยคิดถึงความตายที่จะเกิดขึ้น และชีวิตของเราจะจบสิ้นลงในการระลึกถึงความตาย
ต้องให้มีสติกำกับตลอดเวลา ในขณะเดียวกันก็มีความสลดใจและเข้าใจ โดยความตายที่ระลึก
ถึงนั้น ท่านกล่าวถึงลักษณะการระลึกถึงไว้ดังนี้
1. มรณานุสติที่เกี่ยวเนื่องด้วยทุกข์กังวล เช่น ความโศกเศร้าที่เกิดแก่มารดาเพราะ
ระลึกถึงความตายของบุตรอันเป็นที่รัก
2. มรณานุสติที่เกี่ยวเนื่องด้วยความกลัว เช่น การระลึกถึงความตายที่เกิดขึ้นอย่าง
กระทันหันของบุตร
3. มรณานุสติที่เกี่ยวเนื่องด้วยอุเบกขา เช่น การระลึกถึงความตายของสัปเหร่อที่
เคยชินกับความตายจนวางเฉย ไม่รู้สึกสลดหรือสังเวชใจ
66 DOU สมาธิ 6 ส ม ก กั ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิ ธี (1)