การเจริญมรณานุสติเพื่อเข้าถึงพระธรรมกาย MD 306 สมาธิ 6  หน้า 89
หน้าที่ 89 / 156

สรุปเนื้อหา

การเจริญมรณานุสติเป็นวิธีการหนึ่งในการเข้าถึงพระธรรมกาย โดยการพิจารณาความตายที่ศูนย์กลางกาย ซึ่งแตกต่างจากการพิจารณาทั่วไป เมื่อระลึกถึงความตายจะช่วยให้ใจคลายจากความยึดมั่น อีกทั้งยังสามารถนำไปสู่การเกิดในอารมณ์ที่สงบ โดยใช้หลักการบริกรรมและพิจารณาเพื่อมุ่งสู่ความไม่ตาย อานิสงส์ที่เกิดจากการเจริญมรณานุสติ ได้แก่ ความขวนขวายในการทำความดีและทำให้หลีกเลี่ยงความชั่ว เหล่านี้ช่วยให้เห็นความไม่เที่ยงและความคงอยู่ไม่ได้ที่เกิดขึ้นในสรรพสิ่ง

หัวข้อประเด็น

-มรณานุสติ
-การพิจารณาความตาย
-พระธรรมกาย
-อานิสงส์ของการเจริญมรณานุสติ
-การปฏิบัติธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พิจารณาความตายจนกระทั่งบรรลุอรหัตผลได้นั้น แสดงว่าเป็นการพิจารณาในศูนย์กลางกาย ดังจะกล่าวในหัวข้อต่อไป 3.6 การเจริญมรณานุสติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคได้กล่าวว่า เมื่อเจริญมรณานุสติอย่างนี้แล้ว ไม่สามารถทำให้ได้ ฌาน ทำให้ถึงเพียง “อุปจารสมาธิ” แต่ในวิธีปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย เมื่อปฏิบัติจริง ๆ แล้ว สามารถทำให้ได้สมาธิในระดับที่เลยไปกว่าอุปจารสมาธิ โดยปฏิบัติดังนี้ เมื่อระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์ตลอดเวลาจนใจคลายจากสิ่งที่ยึดมั่นถือมั่นห่วงกังวล ภายนอก ความฟุ้งซ่านซัดส่ายไปในอารมณ์ต่าง ๆ บรรเทาลง พร้อมบริกรรมว่า “มรณ์ มรณ์” หรือ “ตาย ตาย” ไว้ที่ศูนย์กลางกาย แล้วพิจารณาว่า ทางแห่งความไม่ตายนั้นอยู่ที่ศูนย์กลางกาย นี้เอง แล้วทำใจให้หยุดนิ่ง ตั้งมั่นตรงศูนย์กลางกายนี้ จนใจรวมถูกส่วนตกศูนย์เข้าถึง “ดวง ปฐมมรรค” ได้ ต่อจากนั้นก็ดำเนินจิตเข้ากลางของกลางตามลำดับ เข้าถึงกายภายใจ และ เข้าถึงพระธรรมกายในที่สุด เนื่องจากความตายเป็นสภาวะ จึงยากจะกำหนดบริกรรมนิมิตได้ แต่หากจะกำหนด ก็อาจใช้ศพคนตายเหมือนอสุภกัมมัฏฐานได้แต่ต้องมีความตายเป็นอารมณ์จึงจะเป็นมรณานุสติ หากมีความไม่งามเป็นอารมณ์ก็จะกลายเป็นอสุภกัมมัฏฐานไป 3.7 อานิสงส์ของผู้ที่เจริญมรณานุสติ 1. ทำให้เป็นผู้ขวนขวายในกุศลธรรม สนใจใฝ่ใจในธรรมชั้นสูง 2. ทำให้เป็นผู้ไม่ชอบความชั่ว หลีกเลี่ยงความชั่ว 3. ทำให้ไม่สั่งสมเสื้อผ้า เครื่องประดับหรือสิ่งของที่เกินความจำเป็น 4. ทำให้ไม่ตระหนี่หวงแหนข้าวของเครื่องใช้ 5. ทำให้มีอายุยืน 6. ทำให้คลายความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง 7. ทำให้เห็นความไม่เที่ยง (อนิจจสัญญา) 8. ทำให้เห็นความคงอยู่ไม่ได้ (ทุกขสัญญา) บ ท ที่ 3 ม ร ณ า นุ สติ DOU 79
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More