ความหมายของอนุสติในพระพุทธศาสนา MD 306 สมาธิ 6  หน้า 40
หน้าที่ 40 / 156

สรุปเนื้อหา

อนุสติคือการตามระลึกถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติในพระพุทธศาสนา โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาจิตให้บริสุทธิ์และสามารถเข้าถึงพระนิพพานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการฝึกฝน 6 อนุสติที่ช่วยเพิ่มพูนความเข้าใจและความมั่นคงในศรัทธา โดยมีการเชื่อมโยงกับการทำให้จิตใจผ่องใสและหลีกเลี่ยงจากอำนาจของกิเลส ซึ่งสามารถนำไปสู่การบรรลุคุณธรรมที่สูงขึ้นและมีชีวิตที่มีความสุขมากขึ้นได้.

หัวข้อประเด็น

-อนุสติ
-พระพุทธศาสนา
-สมาธิ
-การพัฒนาจิต
-การปฏิบัติธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คำว่าความอยากนี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำพุทธานุสติแม้นี้ให้เป็น อารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้” จากพุทธพจน์ดังกล่าวทำให้เห็นว่า อนุสติทั้ง 6 ประการนี้เป็นข้อปฏิบัติของพระอริย สาวกเพื่อชำระจิตให้บริสุทธิ์ และช่วยให้ได้บรรลุคุณธรรมเบื้องสูงยิ่งๆ ขึ้นไป อย่างไรก็ดี อนุสติ เหล่านี้ก็ย่อมเป็นธรรมจำเป็นสำหรับผู้เริ่มปฏิบัติอีกด้วย เพราะอนุสติเหล่านี้จะทำให้จิต บริสุทธิ์และส่งเสริมคุณธรรมให้เกิดขึ้น พัฒนาคุณสมบัติอื่นๆ ในเบื้องต้น และนำไปสู่ความ บริสุทธิ์แห่งจิตและความรู้แจ้งในขณะที่ก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป 2.2 ความหมายของอนุสติ อนุสติ มาจากภาษาบาลี 2 คำ คือ อนุ กับ สติ คำว่า อนุ เป็นคำอุปสรรค แปลว่า น้อย, ภายหลัง, ตาม, เนืองๆ, บ่อย ๆ, ต่ำ, ในที่นี้จะนำมาใช้ในความหมายว่า ตาม, เนืองๆ และบ่อยๆ ส่วนคำว่า สติ” แปลว่า ความระลึก, ความระลึกได้, ธรรมชาติเครื่องระลึก, ธรรมชาติ เป็นเครื่องระลึก ดังนั้น อนุสติ จึงแปลว่า ความตามระลึก, ความระลึกเนือง ๆ, ความระลึก บ่อยๆ อนุสติ ในความหมายของการเจริญสติในพระพุทธศาสนา หมายถึง การตามระลึกถึง อยู่เนือง ๆ เสมอ ๆ ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ หรือการตามระลึกถึงสิ่งใด ๆ ที่จะก่อให้เกิด ความตั้งมั่นซึ่งสติ โดยสิ่งนั้น ๆ เป็นกุศลธรรมหรือนำไปสู่กุศลธรรม แล้วก่อให้เกิดสติฝ่ายดี ที่ เรียกว่า สัมมาสติ เช่น การตามระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เป็นต้น โดย อาการตามระลึกถึงนี้จะทำให้จิตของผู้ปฏิบัติมีสติ และเมื่อกระทำให้มากจิตจะเป็นสมาธิ กระทั่ง สามารถพัฒนาจิตให้บริสุทธิ์หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ เข้าถึงพระนิพพานได้ ในบทนี้จะกล่าวถึงอนุสติ 6 ประการแรก ซึ่งเป็นแนวทางแห่งการฝึกฝนพัฒนาจิตให้ มีสติและสมาธิ อีกทั้งก่อให้เกิดคุณธรรมแก่ผู้ปฏิบัติ คือปลูกฝังเพิ่มพูนศรัทธา ปัญญาให้แก่กล้า ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถยกจิตของผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปตามอำนาจกิเลส เป็นทางมาแห่งบุญ กุศล จิตใจผ่องใสปราโมทย์ บังเกิดหิริโอตตัปปะ และช่วยคุ้มครองป้องกันภัยให้ผู้ปฏิบัติ เป็นต้น * อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต, มก. เล่มที่ 36 ข้อ 296 หน้า 587 * พันตรี, หลงสมบุญ, พจนานุกรม มคธ - ไทย. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร, 2546. หน้าที่ 40 พันตรี, หลงสมบุญ, พจนานุกรม มคธ - ไทย. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร, 2546. หน้าที่ 695 30 DOU สมาธิ 6 ส ม ก กั ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิ ธี (1)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More