พังผืดและม้ามในร่างกาย MD 306 สมาธิ 6  หน้า 114
หน้าที่ 114 / 156

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพังผืดในร่างกายมนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็นพังผืดปกปิดและพังผืดเปิดเผย มีสีขาวคล้ายเปลือกไม้แก่และมีลักษณะตามที่อยู่ในร่างกาย สำหรับม้ามนั้นมีสีเขียวและมีลักษณะคล้ายลิ้นของโคดำ โดยม้ามตั้งอยู่ในทิศเบื้องบนของร่างกาย ผลกระทบจากการทำร้ายม้ามสามารถทำให้สัตว์สิ้นชีวิตได้ สาระสำคัญเหล่านี้ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจโครงสร้างและหน้าที่ของพังผืดและม้ามในร่างกายได้ดียิ่งขึ้น สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-พังผืด
-ม้าม
-โครงสร้างร่างกาย
-เนื้อเยื่อในร่างกาย
-ผลกระทบจากการบาดเจ็บ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

13. พังผืด(กิโลมก์) พังผืด ได้แก่เนื้อเยื่อสำหรับหุ้ม มี 2 ประเภท โดยแยก เป็นพังผืดปกปิด และพังผืดเปิดเผย พังผืดทั้ง 2 อย่างนั้น โดยสี : มีสีขาวดังสีผ้าเปลือกไม้แก่ โดยสัณฐาน : มีสัณฐานตามที่อยู่ของตน โดยทิศ : พังผืดประเภทปกปิด ชื่อว่า ปฏิจฉันนะกิโลมกะ เกิดในทิศเบื้องบน หุ้มหัวใจและไตอยู่ พังผืดเปิดเผย ชื่อว่า อัปปฏิจฉันนะกิโลมกะ เกิดในทิศเบื้องบนและ เบื้องล่างของร่างกาย ยึดเนื้อใต้หนังอยู่ทั่วร่างกาย โดยปริจเฉท : เบื้องล่างกำหนดด้วยเนื้อ เบื้องบนกำหนดด้วยหนัง เบื้องขวางกำหนด ด้วยส่วนของพังผืดเอง มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่อยู่ในโกฏฐาสะอื่น ๆ 14. ม้าม (ปิหก์) ม้าม ได้แก่เนื้อเป็นลิ้นอยู่ในท้อง ๆ โดยสี : มีสีเขียวดุจสีดอกคนที่สอ สีครามอ่อน ) โดยสัณฐาน : มีสัณฐานดังลิ้นลูกโคดำ มีขั้วยาวประมาณ 7 นิ้ว โดยทิศ : เกิดในทิศเบื้องบน โดยโอกาส : ตั้งอยู่ติดเบื้องบนของพื้นท้องทางซ้ายของหัวใจ ถ้าม้ามหลุดออกมา ภายนอกร่างกาย เพราะถูกทำร้ายด้วยอาวุธเป็นต้น สัตว์ทั้งหลายก็จะสิ้นชีวิต : โดยปริจเฉท : ม้ามกำหนดด้วยส่วนของม้ามเอง มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่อยู่ ในโกฏฐาสะอื่นๆ 104 DOU สมาธิ 6 ส ม ก กั ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิ ธี (1)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More