การรู้ลมหายใจและปฏิบัติการทางจิต MD 306 สมาธิ 6  หน้า 140
หน้าที่ 140 / 156

สรุปเนื้อหา

เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการหายใจของสิ่งมีชีวิตต่างๆ เช่น ช้าง งู สุนัข และกระต่าย ลมหายใจยาวหรือสั้นสามารถจำแนกได้จากเวลาในการหายใจ การฝึกกำหนดรู้อย่างมีสติในลมหายใจจะช่วยให้การหายใจเข้าและออกเกิดขึ้นด้วยจิตที่มีสติตลอดเวลาจนเกิดการรู้แจ้งในลมหายใจ การฝึกฝนจึงจำเป็นต้องทำให้ชัดเจนทั้งในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดของลมหายใจ การรู้แจ้งที่ครบถ้วนทั้งสามขั้นตอนนี้ช่วยเสริมสร้างสมาธิและการปฏิบัติภายในจิตใจ

หัวข้อประเด็น

-การหายใจของช้างและสัตว์อื่นๆ
-การรู้ลมหายใจ
-การฝึกอานาปานสติ
-ความสำคัญของการหายใจในสมาธิ
-การปฏิบัติของพระพุทธองค์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ลมหายใจของช้างและงูยาว ส่วนลมหายใจที่เข้าไปในร่างกายของของสุนัขและกระต่าย ซึ่งมี ลำตัวสั้นและเล็ก เต็มไวและออกมาไว เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่าลมหายใจสั้น ส่วนลมหายใจของมนุษย์นั้น เมื่อหายใจออกหรือหายใจเข้า บางคนก็กินเวลานาน เหมือนการหายใจของช้างหรืองู บางคนก็หายใจออกหายใจเข้าสั้น เหมือนการหายใจของสุนัข หรือกระต่าย ลมยาวหรือลมสั้นจึงรู้ได้ด้วยระยะเวลาของการหายใจนั่นเอง ในทางปฏิบัติ ให้เรากำหนดรู้ลมหายใจที่เข้าออกตามปกติ ไม่ต้องไปฝืนหรือบังคับลม ให้ยาวหรือสั้น ลมหายใจเข้าออกอย่างไรก็กำหนดรู้อย่างนั้น ลมหายใจเข้ายาวออกยาว ก็รู้ว่า เข้ายาวออกยาว ลมหายใจเข้าสั้นออกสั้น ก็รู้ว่าเข้าสั้นออกสั้น ทำเพียงเท่านี้แค่นี้เท่านั้น 3. ย่อมศึกษาว่าเรารู้กายทั้งปวงหายใจเข้าออก กายในที่นี้คือ ลมหายใจ การรู้กาย ทั้งปวงนี้ คือ การรู้ลมหายใจที่มีอยู่ในร่างกาย คือ ทำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด แห่งกอง ลมหายใจเข้าทั้งสิ้นให้รู้แจ้ง คือทำให้ปรากฏหายใจเข้า (และ) ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด แห่งกองลมหายใจออกทั้งสิ้นให้รู้แจ้ง คือทำให้ปรากฏหายใจออก เมื่อเธอ ทำให้รู้แจ้ง คือทำให้ปรากฏด้วยอาการอย่างนั้น ย่อมหายใจเข้าและหายใจออก ด้วยจิตที่ สัมปยุตด้วยญาณ เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักหายใจเข้า จักหายใจออก ในกรณีที่มีการเคลื่อนไหวอันเกิดจากการหายใจเข้า ปลายจมูกเป็นจุดเริ่มต้น หัวใจ เป็นจุดกลาง และสะดือเป็นจุดสุดท้าย ในการหายใจออก สะดือเป็นจุดเริ่มต้น หัวใจเป็นจุดกลาง และปลายลมเป็นจุดสุดท้าย ธรรมดาว่าเบื้องต้นในกองลมหายใจเข้าหรือในกองลมหายใจออกที่แล่นไปอย่างละเอียด ย่อมปรากฏแก่บางคน แต่ท่ามกลางและที่สุดไม่ปรากฏ เขาย่อมสามารถกำหนดได้เฉพาะ เบื้องต้นเท่านั้น ย่อมกำหนดไม่ได้ในท่ามกลางและที่สุด บางคนย่อมปรากฏแต่ท่ามกลาง เบื้องต้น และที่สุด ไม่ปรากฏ เขาย่อมสามารถกำหนดได้เฉพาะท่ามกลางเท่านั้น ไม่สามารถ กำหนดได้ในเบื้องต้นและที่สุด บางคนย่อมปรากฏแต่ที่สุด เบื้องต้นและท่ามกลางไม่ปรากฏ เขาย่อมสามารถกำหนดได้เฉพาะที่สุดเท่านั้น ไม่สามารถกำหนดได้ในเบื้องต้นและท่ามกลาง บางคนย่อมปรากฏได้แม้ทั้งหมดเมื่อเขาสามารถกำหนดได้แม้ทั้งหมด พระพุทธองค์ทรงประสงค์ ให้กำหนดให้ได้ทั้งหมด จึงจะได้ชื่อว่า รู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมศึกษา คือ ย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมทำให้มาก ด้วยสตินั้น ด้วยการใฝ่ใจในอารมณ์ คืออานาปานสติ 130 DOU สมาธิ 6 ส ม า ก ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิ ธี (1)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More