มูตรและการพิจารณาความปฏิกูลในร่างกาย MD 306 สมาธิ 6  หน้า 124
หน้าที่ 124 / 156

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับมูตรหรือปัสสาวะ ในรูปแบบและสัณฐานที่เกิดขึ้นในร่างกายมนุษย์ การพิจารณาเห็นถึงความเป็นปฏิกูลแห่งกาย และการฝึกจิตให้สงบผ่านการมองเห็นความไม่งดงามของร่างกาย เพื่อลดการยึดติดต่อสิ่งที่เป็นปฏิกูลในชีวิตประจำวัน และเข้าใจว่าร่างกายเป็นเพียงภาชนะที่เต็มไปด้วยสิ่งสกปรก เช่น เส้นผม ขน เล็บ และอวัยวะต่างๆ การมองเห็นความปฏิกูลสามารถช่วยให้จิตใจสงบได้ถึงปฐมฌาน

หัวข้อประเด็น

-มูตรและสัณฐาน
-ความเป็นปฏิกูลในร่างกาย
-การพิจารณาความไม่งดงาม
-การฝึกจิตให้สงบ
-ความเชื่อมโยงระหว่างคนกับปฏิกูล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

32. มูตร (มุตต์) โดยสี : มีสีดังสีเหมือนน้ำด่างถั่วราชมาส โดยสัณฐาน : มีสัณฐานเหมือนน้ำที่อยู่ในหม้อน้ำซึ่งเขาวางคว่ำไว้ โดยทิศ : เกิดในทิศเบื้องล่าง โดยโอกาส : อยู่ภายในหัวไส้ หรือกระเพาะปัสสาวะ เวลาเข้าสู่กระเพาะไม่มีทาง ไหลเข้าไป แต่ใช้วิธีซึมซาบเข้าไป เหมือนกับน้ำในบ่อน้ำครำ ซึ่งเข้าไปได้ในหม้อซึมที่ไม่มีปาก อันเขาทิ้งไว้ในบ่อน้ำคร่ำ ส่วนทางออกของน้ำมูตรคือปัสสาวะนั้นย่อมปรากฏ และเมื่อมูตร เต็มแล้ว สัตว์ทั้งหลายย่อมเกิดความขวนขวายว่าจักถ่ายปัสสาวะ โดยปริจเฉท : กำหนดด้วยภายในแห่งกระเพาะปัสสาวะและส่วนแห่งมูตร มีอยู่ โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่อยู่ในโกฏฐาสะอื่น ๆ ผู้เจริญกายคตาสติ ควรท่องจำอาการ 31 - 32 นี้ ทั้งตามลำดับ (อนุโลม) และย้อนลำดับ (ปฏิโลม) โดยไม่ข้ามขั้นตอน แล้วพิจารณาดูให้ชัดในอาการเหล่านั้น โดยดูสี ดูสัณฐาน ที่ตั้ง ที่เกิด และกลิ่น พิจารณาให้เห็นเป็นสิ่งที่ปฏิกูล เปื่อยเน่า ผุพัง เป็นอสุภะ ไม่งดงาม เช่น พิจารณา ว่า เส้นผมมีสีดำ เมื่อแก่ชราลงเปลี่ยนเป็นหงอกขาว มีรากหยั่งลงไปในหนัง ศีรษะ เส้นผมนี้ เมื่ออยู่บนศีรษะก็รักและหวงแหน แต่ถ้ารับประทานอาหาร เห็นสิ่งที่มีลักษณะมีสีเหมือน เส้นผมตกอยู่ในอาหารก็รังเกียจ หรือหากไม่ได้สระผมหลายวันก็จะมีกลิ่นที่น่ารังเกียจ เส้นผม เกิดบนศีรษะที่ชุ่มไปด้วยเลือดและน้ำเหลือง เป็นปฏิกูลน่าขยะแขยง แม้สิ่งอื่น ๆ เช่น ขน เล็บ ฟัน หนัง ฯลฯ ก็นำมาพิจารณา สีสัณฐาน ที่เกิด กลิ่นฯลฯ ให้เป็นปฏิกูลเช่นเดียวกัน บางคน อาจเห็นความเป็นปฏิกูลชัดเจน ในการพิจารณาเส้นผม ฟัน หรืออวัยวะใด ๆ ก็ตาม แตกต่างกันไป หากพิจารณาสิ่งใดชัดเจน ก็ให้เพ่งพิจารณาในสิ่งที่ตน เห็นเป็นปฏิกูลนั้นซ้ำแล้วซ้ำอีกให้มากๆ หากปฏิกูลปรากฏชัด จะทำให้จิตสงบได้ถึงปฐมฌาน แต่ถ้าพิจารณาแล้วยังคงหลงยินดีพอใจ ในกายนี้อยู่ ให้ถามไล่ไปในใจว่า สิ่งใดงดงาม ผมหรือ ขนหรือ เล็บหรือ ฟันหรือ หนังหรือ ฯลฯ ไล่ไปทีละอย่าง จะรู้สึกว่าเป็นปฏิกูล ภายนอกอาจดูสวยงาม แต่แท้จริงแล้วร่างกายก็เปรียบได้ กับภาชนะที่ใส่สิ่งปฏิกูลโสโครกทั้งหลายไว้ภายใน คือ ใส่ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ตับ ไต เป็นต้น หรือเปรียบดังต้นไม้งอกอยู่บนคูถ ผม ขน เล็บ ฟัน หนังก็งอกบนคูถ น้ำมูตรเลือดที่โชกชุ่ม สกปรก เป็นปฏิกูล น่ารังเกียจสำหรับคนทั่วไป เมื่อพิจารณากายของตนว่าเป็นปฏิกูลแล้ว ก็พิจารณากายของผู้อื่นด้วย แล้วรวมกาย ของตนกับผู้อื่นเป็นกายเดียวกันให้เป็นปฏิกูลเหมือนกันทั้งสิ้น 114 DOU สมาธิ 6 ส ม ก กั ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิ ธี (1)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More