ข้อความต้นฉบับในหน้า
หากปฏิบัติตามนี้
ปฏิภาคนิมิตก็จะไม่เสื่อมหายไปและได้รูปฌานตามลำดับ แต่การ
จะได้อัปปนาฌาน พึงทราบด้วยว่าลมเข้าลมออกและนิมิต เป็นอารมณ์ของจิตคนละดวง คนละ
อัน ไม่ใช่อารมณ์ของจิตดวงเดียวกัน
5.6 อานิสงส์ของอานาปานสติ
1. ทำให้ได้รูปฌาน
2. ทำให้เป็นบาทของมรรคผล นั่นก็คือ อานาปานสติเป็นสาเหตุแห่งการทำให้
วิชชาและวิมุตติเต็มบริบูรณ์ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ถ้าบุคคลปฏิบัติอานาปานสติ
เธอชื่อว่าทำสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ ถ้าบุคคลปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 เธอชื่อว่าทำโพชฌงค์ 7
ให้บริบูรณ์ ถ้าบุคคลปฏิบัติโพชฌงค์ 7 เธอชื่อว่าทำวิมุตติและวิชชาให้บริบูรณ์
3. ทำให้ป้องกันไม่ให้เกิดวิตก พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอานิสงส์ของอานาปานสติไว้ว่า
อานาปานสติสมาธิบุคคลทำให้มากเจริญให้มากแล้ว เป็นธรรมที่ละเอียดและประณีต เป็น
ธรรมสามารถตัดซึ่งวิตก เช่น กามวิตก เป็นต้น อานาปานสติสมาธิ ย่อมทำความฟุ้งซ่านให้
หมดไปจากจิต ที่เกิดจากอำนาจของวิตกทั้งหลายอันทำอันตรายต่อสมาธิ แล้วทำให้จิตมุ่ง
ต่ออารมณ์คือลมหายใจเข้าออกเท่านั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า พึงเจริญ
อานาปาสติเพื่อเข้าไปตัดวิตก
4. ผู้ที่สำเร็จอรหัตผลโดยใช้อานาปานสติเป็นบาท ย่อมสามารถกำหนดรู้อายุสังขาร
ของตนว่าจะอยู่ได้นานเท่าใด และสามารถรู้เวลาที่จะปรินิพพานตามธรรมดาผู้ที่เจริญกัมมัฏฐาน
อย่างอื่นนอกจากอานาปานสติ บางท่านก็รู้วันตาย บางท่านก็ไม่รู้ แต่ผู้ที่เจริญอานาปานสติ
จนกระทั่ง บรรลุพระอรหัตผล ย่อมสามารถกำหนดรู้วันละสังขารได้ ย่อมรู้ว่า เราจะมีอายุอยู่
ต่อไปได้เพียงเท่านี้ ไม่เกินไปกว่านี้ จึงทำกิจทุกอย่าง มีการชำระร่างกายและการนุ่งห่ม เป็นต้น
ตามที่เคยปฏิบัติมา แล้วจึงหลับตา โดยมีเรื่องเล่าไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค เป็นเรื่องพระเถระ
สองพี่น้องผู้อยู่ในจิตตลดาบรรพตวิหาร เรื่องก็มีอยู่ว่า
1 ความตรึก, การคิด มีอยู่ 3 อย่าง คือ กามวิตก (คิดในเรื่องกาม) พยาบาทวิตก (คิดในเรื่องพยาบาท)
วิหิงสาวิตก (คิดในเรื่องเบียดเบียน)
* พระ ดร. พี วชิรญาณมหาเถระ, สมาธิในพระพุทธศาสนา, โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย หน้า 205
บทที่ 5 อ าน า ป า น ส ติ และ อุปสมานุสติ DOU 139