ข้อความต้นฉบับในหน้า
2. ย่อมประคองจิตในคราวที่ควรประคอง คือ ในยามที่จิตมีความง่วงเหงา ท้อถอย
หดหู่ ต้องปลอบโยน
3. ย่อมปลอบจิตในคราวที่ควรปลอบ คือ จิตไม่ยินดีในการงาน ต้องปลอบด้วยการ
พิจารณาธรรมสังเวช เกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่จะต้องประสบ เป็นต้น
4. ย่อมพักผ่อนจิตในคราวที่ควรพักผ่อน คือ จิตดำเนินอยู่ด้วยดีในอารมณ์กัมมัฏฐาน
ไม่มีการฟุ้งซ่าน ง่วงเหงา ท้อถอย
5. มีจิตน้อมไปในมรรคผล
6. มีความยินดีในพระนิพพาน
การปฏิบัติตามหลัก โพชฌังคโกสัลลสูตร” นั้น คราวใดจิตมีความง่วงเหงาท้อถอย
ไม่มีความเพียร ในคราวนั้นต้องอบรมธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์
ทั้ง 3 นี้ ให้แก่กล้ายิ่งขึ้น และคราวใดจิตมีความเพียรมากจนฟุ้งซ่าน ในคราวนั้นต้องอบรม
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ทั้ง 3 นี้ ให้แก่กล้ายิ่งขึ้น
4.5 ความลำบากในการเจริญกายคตาสติกัมมัฏฐาน
ในบรรดากัมมัฏฐาน 40 นั้น อนุสติ 10 พรหมวิหาร 4 ทำการปฏิบัติลำบากมากกว่า
กัมมัฏฐานอื่นๆ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ผู้ปฏิบัติจะต้องทำการศึกษาให้เข้าใจเป็นอย่างดีเสียก่อน
จึงจะลงมือปฏิบัติได้ มิฉะนั้นก็จะปฏิบัติไม่ถูก
สำหรับการเจริญกายคตาสตินี้ยิ่งลำบากมาก กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษาวิธีการ
เจริญกายคตาสติกัมมัฏฐานตามนัยอุคคหโกสัลละ 7 ประการ เช่นเดียวกับนักศึกษาทั้งหลาย
ที่กำลังศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักของพระอาจารย์ บางท่านเมื่อได้ศึกษาจบตามนัยอุคคห
โกสัลละ 7 ประการแล้ว นิมิต 3 อย่างใดอย่างหนึ่งมิได้ปรากฏเลย ต่อเมื่อทำการปฏิบัติพิจารณา
โดยส่วนเดียว ตามนัยมนสิการโกสัลละ 10 ประการต่อไปแล้ว จึงจะได้นิมิตทั้ง 3 อย่างใด
อย่างหนึ่ง และได้ฌาน มรรค และผล ตามความปรารถนา
อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะลำบากสักเพียงใดก็ตาม แต่เมื่อได้นึกถึงอานิสงส์และคำยกย่อง
ชมเชยของพระอรรถกถาจารย์ ที่แสดงไว้ในสัมโมหวิโนทนีอรรถกถาแล้ว พุทธมามกชนก็ควร
ยินดีพอใจในการปฏิบัติไม่ย่อท้อ อานิสงส์และคำยกย่องชมเชยมีดังนี้
บ า ที่ 4 ก า ย ค ต า ส ติ
DOU 119