ข้อความต้นฉบับในหน้า
1.3 ประเภทของกสิณ
กสิณในพระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็น 10 ประเภท คือ
1. ปฐวีกสิณ
กสิณดิน
2. อาโปกสิณ
กสิณน้ำ
3. เตโชกสิณ
กสิณไฟ
4. วาโยกสิณ
กสิณลม
5. นีลกสิณ
กสิณสีเขียว
6. ปีตกสิณ
กสิณสีเหลือง
7. โลหิตกสิณ
กสิณสีแดง
8. โอทาตกสิณ
กสิณสีขาว
9. อาโลกกสิณ
ธาตุ
10. อากาสกสิณ
กสิณแสงสว่าง, แสงไฟ
กสิณที่ว่าง , อากาศ
กสิณ 4 ชนิดแรก เรียกว่า ภูตกสิณ เพราะสอดคล้องกับธาตุทั้ง 4 ที่เรียกว่า มหาภูต
คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม กสิณ 4 ชนิดต่อมาเรียกว่า วรรณกสิณ เพราะเกี่ยวข้องกับสีทั้ง 4 คือ
สีเขียว เหลือง แดง และขาว ส่วนกสิณที่เหลือ 2 ชนิด เกี่ยวข้องกับแสงสว่างและอากาศตามลำดับ
ดังนั้น เราอาจแบ่งกสิณ 10 ชนิด ตามที่ปรากฏในคัมภีร์วิสุทธิมรรค เป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 ภูตกสิณ ได้แก่ ธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม
กลุ่มที่ 2 วรรณกสิณ ได้แก่ สีต่าง ๆ คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว
กลุ่มที่ 3 เสสกสิณ ได้แก่ แสงสว่างและอากาศ
การเจริญสมาธิโดยใช้กสิณเป็นหลักปฏิบัติ ท่านอธิบายไว้ว่าเป็นแบบปฏิบัติที่มีหลัก
การเป็นแผน มีการบรรลุพระนิพพานเป็นเป้าหมายสูงสุด ต่อไปนี้จะได้กล่าวถึงวิธีเจริญกสิณ
ตามที่พบในอรรถกถาทั้งหลาย และวิธีปฏิบัติตามหลักปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย
บ ท ที่ 1 ก ล ณ 1 0
DOU 9