การศึกษาโกฏฐาสะในพุทธศาสนา MD 306 สมาธิ 6  หน้า 98
หน้าที่ 98 / 156

สรุปเนื้อหา

ในร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยโกฏฐาสะ 32 ประการที่มีความสำคัญ เช่น ผม ขน เล็บ และอวัยวะภายใน ซึ่งการจำและพิจารณาทั้งหมดนี้อาจแบ่งออกเป็น 6 หมวดเพื่อให้ง่ายต่อการบริกรรม เริ่มตั้งแต่ตจปัญจกะจนถึงมุตตฉักกะ เพื่อสร้างความเข้าใจลึกซึ้งในสั่งการและการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น สามารถศึกษาเพิ่มได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-โกฏฐาสะในพุทธศาสนา
-การบริกรรมนั้น
-การจัดหมวดหมู่โกฏฐาสะ
-ความสำคัญของอวัยวะในร่างกาย
-การศึกษาและท่องจำในพุทธธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

กิโลมก์ ปีหก ปปผาส์, อนุติ อนุตคุณ อุทริย์ กรีส มาถลุงค์, ปิตต์ เส มุห์ ปุพฺโพ โลหิต์ เสโท เมโท, อสุสุ วสา เขโฬ สิงฆาณิกา ลฬิกา มุตฺตนฺติ” แปลความว่า ในร่างกายเรานี้มีส่วนต่าง ๆ อยู่ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า สมอง น้ำดี น้ำเสลด น้ำเหลือง เลือด น้ำเหงื่อ น้ำมันข้น น้ำตา น้ำมันเหลว น้ำลาย น้ำมูก น้ำไขข้อ น้ำมูตร คำว่า มตฺถลุงค์ เดิมทีนั้นในพุทธสุภาษิตไม่มี เพราะพระพุทธองค์ทรงรวบรวมคำว่า มาถลุงค์ เยื่อในสมองไว้ในคำว่า อฏฐิมิญช์ คือ เยื่อในกระดูกแล้ว ครั้นต่อมา ปฐมสังคีติการกาจารย์ทั้งหลายได้แยกคำว่า มาถลุงค์ ออกจากคำว่า อฏฐิ มิญช์ มาไว้โดยเฉพาะ โดยให้ต่อจากคำว่า กรีส เพื่อจะให้ครบปฐวีธาตุ 20 สำหรับการบริกรรมนั้น บทต้นคือ อตฺถิ อิมสฺม กาเย และบทสุดท้ายคือ บทอิติ ที่อยู่ ท้าย มุตฺตนฺติ ไม่ต้องบริกรรม คงบริกรรมแต่ 32 โกฏฐาสะ หรืออาการ 32 มี เกสา เป็นต้น จนถึง มุตต์ เป็นที่สุดเท่านั้น ในการท่องชื่อและพิจารณาให้ขึ้นใจนั้น เนื่องจากโกฏฐาสะมีถึง 32 ประการ ซึ่งอาจ จะไม่สะดวกที่จะท่องคราวเดียวติดต่อกัน ดังนั้น ท่านจึงแนะนำให้แบ่งบริกรรมนั้นออกไปเป็น หมวดๆ มี 6 หมวดด้วยกัน คือ หมวดที่ 1 ชื่อว่า ตจปัญจกะ มีโกฏฐาสะ 5 ได้แก่ เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ หมวดที่ 2 ชื่อว่า วักกะปัญจกะ มีโกฏฐาสะ 5 ได้แก่ มิส นหารู อฏฐิ อฏฐิมิญช์ วกก หมวดที่ 3 ชื่อว่า ปัปผาสปัญจกะ มีโกฏฐาสะ 5 ได้แก่ หทย์ ยกนํ กิโลมก์ ปีหก์ ป.ผาส หมวดที่ 4 ชื่อว่า มัตถลุงคปัญจกะ มีโกฏฐาสะ 5 ได้แก่ อนุต์ อนุตคุณ อุทริย์ กรีส มตฺถลุงค์ หมวดที่ 5 ชื่อว่า เมทฉักกะ มีโกฏฐาสะ 6 ได้แก่ ปิตต์ เสมุห์ ปุพฺโพ โลหิต เสโท เมโท หมวดที่ 6 ชื่อว่า มุตตฉักกะ มีโกฏฐาสะ 6 ได้แก่ อสุสุ วสา เขโฬ สิงฆาฬิกา ลฬิกา มุตติ * มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, ฉบับหลวง เล่มที่ 12 ข้อ 136 หน้า 105 88 DOU สมาธิ 6 ส ม ก กั ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิ ธี (1)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More