การฝึกสมาธิด้วยการกำหนดลม MD 306 สมาธิ 6  หน้า 146
หน้าที่ 146 / 156

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการกำหนดจุดที่ลมกระทบระหว่างการหายใจ เพื่อให้สติอยู่กับการสัมผัสของลมที่ปลายจมูกหรือริมฝีปาก โดยเสนออุปมา 3 ตัวอย่าง คือ คนง่อย คนเฝ้าประตูเมือง และชายเลื่อยไม้ ที่เน้นการไม่ใส่ใจลมที่เข้าออก แต่เน้นอยู่ที่จุดกระทบทำให้จิตใจสงบลง, ลมหายใจจะละเอียดขึ้น, จิตจะรู้สึกเบาหรือคล้ายตัวลอยอยู่ โดยคำแนะนำนี้มุ่งเน้นการฝึกกำหนดสติให้แน่นอนมากขึ้น

หัวข้อประเด็น

- วิธีการฝึกสมาธิ
- อุปมาในการฝึก
- ผลของการฝึกสมาธิ
- ลมหายใจและสติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ให้กำหนดจดจ่ออยู่เพียงจุดกระทบของลมที่ปลายจมูกหรือริมฝีปาก (ผุสนาและรูปนา) ดัง อุปมาด้วย คนง่อย คนเฝ้าประตู และคนเลื่อยไม้ 1. อุปมาด้วยคนง่อย คนง่อยซึ่งกำลังโล้ชิงช้าให้แก่มารดาและลูกชายอยู่ เมื่อนั่งอยู่ที่โคนเสาชิงช้านั้น ย่อม เห็นที่สุดของทั้งสองข้าง และท่ามกลางของแผ่นกระดานชิงช้า ที่กำลังแกว่งไปมาอยู่ แต่ก็ไม่ได้ ขวนขวายในการแลดูที่สุดทั้งสอง และท่ามกลางฉันใด ผู้ปฏิบัติ เมื่อกำหนดดูลมหายใจ ก็ไม่ได้ ส่งสติติดตาม เพียงแต่ตั้งจิตไว้ตรงจุดที่ลมกระทบเท่านั้น ก็สามารถรู้ถึงเบื้องต้น ท่ามกลาง และ ที่สุดของลมหายใจเข้าออกได้ในขณะที่มันเข้าออกอยู่ตามปกตินั้น โดยที่ไม่ได้ขวนขวายแลดูลม เหล่านั้นแต่อย่างใด 2. อุปมาด้วยคนเฝ้าประตูเมือง ธรรมดาคนที่เฝ้าประตู จะไม่ตรวจตราแลดูพวกคนในเมืองและนอกเมือง จะไม่คอย ถามว่า ท่านเป็นใคร มาจากไหน หรือจะไปไหน เพราะคนเหล่านั้นไม่ใช่ภาระหน้าที่ของเขา เขาจะตรวจตราแลดูเฉพาะคนที่มาถึงประตูเมืองเท่านั้น ฉันใด ผู้ปฏิบัติก็เช่นเดียวกัน ลมที่เข้า มาข้างในและลมที่ออกมาภายนอก ไม่ใช่ภาระหน้าที่ มีหน้าที่เพียงกำหนดลมที่ปากช่องจมูก เท่านั้น 3. อุปมาด้วยชายเลื่อยไม้ ชายคนหนึ่งนำเลื่อยมาเลื่อยไม้ สติของเขาจดจ่ออยู่กับฟันเลื่อยที่ถูกไม้ ไม่ได้ใส่ใจถึง การเดินหน้าและถอยหลังของเลื่อย แต่ก็รับรู้ถึงฟันเลื่อยที่ชักมาและชักไป ผู้ปฏิบัติก็เช่นเดียวกัน ตั้งสติกำหนดไว้ที่ปากช่องจมูกหรือริมฝีปากตรงจุดที่ลมกระทบ ไม่ได้ใส่ใจถึงลมที่เข้ามาและ ออกไป แต่จะไม่รู้ถึงลมที่เข้ามาและออกไปก็หาไม่ ความเพียรก็ปรากฏ คือ คือทั้งกายและใจ ของผู้ทำความเพียร ย่อมเป็นของควรแก่การงาน ความพยายามของเขาก็สำเร็จดังตั้งใจ ทั้งเขา ก็ได้บรรลุคุณวิเศษด้วย ค. ผุสนานัย คือ การกระทบ เมื่อสติอยู่กับลมหายใจแล้ว ไม่ต้องนับอีก แต่ให้ดูการ กระทบต่อจุดกระทบคือ ปลายจมูกหรือริมฝีปากบน ไม่ต้องตามลมเข้าลมออก จดจ่ออยู่เพียง จุดกระทบของลม เมื่อลมหายใจละเอียดเข้าๆ ความกระวนกระวาย ความเครียดก็สงบลงไปจิต จะเบา กายก็เบา จนบางคนรู้สึกว่าตัวลอยอยู่บนอากาศ ที่เป็นอย่างนั้นก็เหมือนกับคนมีร่างกาย กระสับกระส่ายที่นั่งอยู่บนเตียงหรือตั่ง เตียงหรือตั่งย่อมโยกย่อมลั่น เครื่องปูลาดย่อมยับ 136 DOU สมาธิ 6 ส ม ก กั ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิ ธี (1)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More