การทำงานของระบบย่อยอาหารและการสร้างสารในร่างกาย MD 306 สมาธิ 6  หน้า 118
หน้าที่ 118 / 156

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายถึงการทำงานของกระเพาะอาหารใหม่ ในการเผาผลาญสารอาหาร รวมถึงการสร้างมันสมองและดีในร่างกาย โดยมันสมองมีลักษณะเฉพาะและแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดีมีทั้งที่มีฝักและไม่มีฝักซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของร่างกาย หากมีการกำเริบอาจทำให้เกิดอาการไม่สบายได้

หัวข้อประเด็น

-การทำงานของกระเพาะอาหาร
-มันสมอง
-การผลิตดีในร่างกาย
-สุขภาพและโรคที่เกี่ยวข้อง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อย่างใดอย่างหนึ่งตกลงไปในกระเพาะอาหารใหม่ อันไฟธาตุในท้องเผาผลาญปุดเป็นฟองฟอด ถึงภาวะเป็นของละเอียด ดังถูกบดด้วยหินบดแล้วไหลลงไปตามลำไส้ใหญ่เป็นของหมักตั้งอยู่ ดังดินเหลืองที่เขาขยำใส่ในปล้องไม้ไผ่ เปรียบเหมือนน้ำฝนตกลงที่ภูมิภาคเบื้องสูงแล้วไหลบ่า ลงไปขังเต็มภูมิภาคเบื้องต่ำ ฉะนั้น โดยปริจเฉท : กำหนดกระพุ้งอาหารเก่าและด้วยส่วนแห่งอุจจาระ มีอยู่โดยเฉพาะใน ร่างกาย มิใช่อยู่ในโกฏฐาสะอื่นๆ 20. มันสมอง (มตฺถลุงค์) มันสมอง ได้แก่ กองเยื่ออันตั้งอยู่ภายในกะโหลกศีรษะ โดยสี : มีสีขาวดังก้อนเห็ด แต่ก็ไม่ขาวเท่านมข้น สีพอ ๆ กับนมสด โดยสัณฐาน : มีสัณฐานเหมือนหัวกะโหลกที่บรรจุ โดยทิศ : เกิดในทิศเบื้องบน โดยโอกาส : อาศัยแนวประสาน 4 แนวภายในกะโหลกศีรษะ ตั้งรวมกันอยู่ดุจ ก้อนแป้ง 4 ก้อนที่เขาตั้งรวมกันไว้ โดยปริจเฉท : กำหนดด้วยพื้นในภายในกะโหลกศีรษะและส่วนแห่งมันสมอง มีอยู่ โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่อยู่ในโกฏฐาสะอื่น ๆ ร่างกาย 21. ดี (ปิตฺต์) ดี ได้แก่ ดี 2 อย่างคือ ดีที่มีฝัก และดีที่ไม่มีฝัก โดยสี : ดีที่มีฝัก มีสีดังน้ำมันผลมะซางข้น ๆ ดีที่ไม่มีฝักมีสีดังดอกพิกุล เที่ยว โดยสัณฐาน : ดีทั้ง 2 อย่างมีสัณฐานตามโอกาสที่ตั้งอยู่ โดยทิศ : ดีมีฝักเกิดในทิศเบื้องบน ดีไม่มีฝักเกิดในทิศเบื้องบนและเบื้องล่างของ โดยโอกาส : ดีที่ไม่มีฝัก ซึมซาบไปทั่วร่างกาย ยกเว้นที่ที่พ้นจากเนื้อคอ ผม ขน เล็บ ฟัน และหนังที่กระด้างแห้งผากเหมือนหยาดน้ำมันที่ซึมซาบไปทั่วน้ำถ้าน้ำดีกำเริบ สัตว์ทั้งหลาย ก็จะชัก ทำให้ตาเหลืองวิงเวียน ตัวก็สะทกสะท้าน เป็นผื่นคัน ดีที่มีฝักขังอยู่ในฝักดีซึ่งเป็นดัง รังบวบขมใหญ่ตั้งแนบเนื้อตับในระหว่างหัวใจกับปอด ถ้ากำเริบสัตว์ทั้งหลายมักเป็นบ้า จิตใจ * ดอกพิกุลมีสีเหลือง 108 DOU สมาธิ 6 ส ม ก กั ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิ ธี (1)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More