การเจริญกัมมัฏฐานในพระพุทธศาสนา MD 306 สมาธิ 6  หน้า 126
หน้าที่ 126 / 156

สรุปเนื้อหา

เอกสารนี้เสนอการพิจารณาในมนสิการโกสัลละ 10 อย่างซึ่งต้องการให้ผู้ปฏิบัติระลึกถึงหลักการอย่างหนักแน่น ข้อปฏิบัติทั้งหมดต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวังในขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อให้การพิจารณาไม่คลาดเคลื่อนไปจากความตั้งใจ จึงทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถเข้าถึงความสามารถในการเข้าถึงฌานที่แท้จริงได้ ทั้งนี้ การปฏิบัติต้องมีความตั้งมั่น เพื่อหลีกเลี่ยงการฟุ้งซ่านและเกิดความเข้าใจอย่างถูกต้องในธรรมะและการปฏิบัติของตนเอง.

หัวข้อประเด็น

-หลักการกัมมัฏฐาน
-อุคคหโกสัลละ 7 ข้อ
-มนสิการโกสัลละ 10 อย่าง
-การพิจารณาในสมาธิ
-การเข้าถึงฌาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

มรรค ผล ก็จะบังเกิดต่อไป แล้วแต่การพิจารณานั้นๆ อนึ่ง พระอรรถกถาจารย์ได้กล่าวว่า ผู้ที่ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์จากการเจริญกายคตา สติกัมมัฏฐาน เพียงแต่อาศัยอุคคหโกสัลละ 7 ประการนี้มีมากมาย เท่าที่ได้กล่าวแล้วนี้ เป็นอธิบายในอุคคหโกสัลละ 7 ข้อ 4.4.7 มนสิการโกสัลละ 10 อย่าง สำหรับการพิจารณาในมนสิการโกสัลละ 10 อย่าง หลังจากอุคคหโกสัลละ ทั้ง 7 ผู้ปฏิบัติ ไม่จำต้องท่องบ่นด้วยวาจาอีกต่อไป คงใช้พิจารณาโกฏฐาสะ 32 เหล่านั้นด้วยใจ คือ 1. อนุปุพฺพโต การพิจารณาไปตามลำดับ เริ่มตั้งแต่ สี สัณฐาน ที่ตั้ง ที่เกิด ขอบเขต ให้ถูกตรงตามหลักแห่งข้อนี้ คือ พิจารณาที่ไปตามลำดับไม่ลักลั่น 2. นาติสีฆโต การพิจารณาโดยไม่รีบร้อนนัก คือ ในขณะที่กำลังพิจารณาโดยลำดับ อยู่นั้น อย่าพิจารณาให้เร็วนัก มิฉะนั้น สี สัณฐาน เป็นต้น ของโกฏฐาสะเหล่านั้นจะปรากฏ เ ไม่ชัด 3. นาติสณิกโต การพิจารณาโดยไม่เฉื่อยช้านัก คือ ในขณะที่พิจารณาไปโดยลำดับ อยู่นั้น อย่าพิจารณาให้ช้านัก เพราะว่าถ้าพิจารณาช้ามากไป สี สัณฐาน เป็นต้น ของโกฏฐาสะ เหล่านั้น ก็อาจจะปรากฏโดยความเป็นของสวยงาม ทำให้กัมมัฏฐานไม่ถึงที่สุด คือ ไม่ได้ฌาน มรรค ผล นั่นเอง 4. วิกเขปปฏิพาหนโต การพิจารณาโดยบังคับจิตไม่ให้ไปที่อื่น คือ การเจริญ กัมมัฏฐาน เปรียบดังคนที่เดินไปใกล้เหว ซึ่งมีช่องทางชั่วรอบเท้าเดียว จะต้องระวังอย่างที่สุด เพื่อไม่ให้พลาดตกลงไป ผู้ปฏิบัติจึงป้องกันความฟุ้งซ่านของจิตใจ แล้วให้ตั้งมั่นอยู่แต่ใน อารมณ์ของกัมมัฏฐาน เพียงประการเดียว 5. ปณฺณสฺติสมติกฺกมนโต การพิจารณาโดยก้าวล่วงบัญญัติ คือ ในขณะที่พิจารณา ไปตามลำดับอยู่นั้น ในระยะแรกต้องพิจารณาอาศัยนามบัญญัติ ได้แก่ถ้อยคำเรียกชื่อดังนั้นดังนี้ เช่น เรียก ผม ขน เล็บ ฯลฯ และอาศัยสัณฐานบัญญัติว่ามีลักษณะ กลม ยาว หรืออื่นๆ เพื่อให้ ปฏิกูลนิมิตปรากฏ ครั้นปฏิกูลนิมิตปรากฏแล้ว ก็มีจำเป็นที่จะต้องกล่าวถึงนามบัญญัติ คือ เกสา โลมา เป็นต้น และสัณฐานบัญญัติ คือ รูปร่าง สัณฐานอีกแต่อย่างใด เปรียบดังคนเห็นบ่อน้ำ ในป่าเวลาหาน้ำยาก จึงได้จัดทำเครื่องหมายไว้เพื่อจำไว้ จะได้สะดวกแก่การที่จะมาหาน้ำดื่ม และอาบน้ำต่อๆ ไป ครั้นไปมาบ่อยๆ เข้าก็ชำนาญทางนั้นดี ไม่จำเป็นที่จะต้องทำเครื่องหมาย 116 DOU สมาธิ 6 ส ม ก กั ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิ ธี (1)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More