การศึกษาส่วนประกอบของหัวใจและตับในมนุษย์ MD 306 สมาธิ 6  หน้า 113
หน้าที่ 113 / 156

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงลักษณะของหัวใจและตับในมนุษย์ โดยทำการเปรียบเทียบรูปร่างต่างๆ ตามประเภทของผู้มีปัญญา และผลกระทบต่อร่างกาย สรุปความหมายของน้ำเลี้ยงหทัยและการจัดเรียงของอวัยวะภายใน ในความสัมพันธ์กับจิตใจและสุขภาพ ตารางแสดงสีของโลหิตตามสภาวะจิตใจของบุคคล ตลอดจนลักษณะของตับในคนปัญญาน้อยและคนฉลาด โดยรายละเอียดทั้งหมดนี้สามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-ลักษณะหัวใจ
-ลักษณะตับ
-การเปรียบเทียบตามปัญญา
-การแสดงออกของอวัยวะในร่างกาย
-จิตใจและสุขภาพ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ภายนอกเกลี้ยง ภายในเหมือนภายในแห่งรังบวบขม ของพวกคนมีปัญญาเฉลียวฉลาด หัวใจ เป็นรูปบัวแย้มหน่อยหนึ่ง ของพวกคนปัญญาอ่อนรูปร่างจะเหมือนดอกบัวตูมปิดสนิท ภายใน หัวใจนั้นมีหลุมขนาดจุเมล็ดบุนนาคได้ เป็นที่ขังโลหิตประมาณกึ่งซองมือ เรียกว่าน้ำเลี้ยงหทัย เป็นที่อาศัยเกิดมโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ โลหิตนั้นของคนราคจริตเป็นสีแดง ของคน โทสจริตเป็นสีดำ ของคนโมหจริตเป็นสีคล้ายน้ำล้างเนื้อ ของคนวิตกจริตเป็นสีดังเยื่อถั่วพู ของ คนสัทธาจริตเป็นสีดังดอกกรรณิการ์ ของคนปัญญาจริตใสผ่องไม่หมองมัว ขาวบริสุทธิ์ ปรากฏ มีแสงดังแก้วมณีแท้ที่เจียระไนแล้ว โดยทิศ : เกิดในทิศเบื้องบน โดยโอกาส : ตั้งอยู่ระหว่างกลางนมทั้ง 2 ภายในร่างกาย โดยปริจเฉท : หัวใจก็กำหนดด้วยส่วนของหัวใจ มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่อยู่ใน โกฏฐาสะอื่นๆ 12. ตับ (ยกนํ) ตับ ได้แก่แผ่นเนื้อสองแฉก โดยสี : มีสีแดง พื้นเหลืองไม่แดงจัดสีดังสีหลังกลีบบัวแดง โดยสัณฐาน : ที่โคนเป็นแผ่นเดียว ที่ปลายเป็นสองแฉก มีสัณฐานดังใบทองหลาง ถ้า ตับ ของพวกคนโง่ จะมีตับเป็นแผ่นโตแผ่นเดียวเท่านั้น ของคนมีปัญญา จะมีตับเป็นแผ่นย่อมๆ แยกออกเป็นแฉก 2 หรือ 3 แฉก โดยทิศ : เกิดในทิศเบื้องบน โดยโอกาส : ตั้งอยู่ระหว่างนมทั้งสองค่อนไปข้างขวา โดยปริจเฉท : ตับก็กำหนดด้วยส่วนของตับเอง มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่อยู่ใน โกฏฐาสะอื่นๆ บ ท ที่ 4 ก า ย ค ต า ส ติ DOU 103
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More