การใช้กสิณในการเจริญสมาธิ MD 306 สมาธิ 6  หน้า 22
หน้าที่ 22 / 156

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงการใช้กสิณในการเจริญสมาธิ ซึ่งประกอบด้วยการเริ่มต้นจากปฐวีกสิณและอาโปกสิณ ผู้ปฏิบัติควรทบทวนวิธีการพิจารณาและเพ่งดูสภาวะต่างๆ อย่างไม่ลำเอียง จนเกิดอุคคหนิมิตที่ชัดเจนและใจที่สงบ โดยเฉพาะการรักษาความสะอาดขององค์กสิณและการเพ่งดูน้ำอย่างถูกต้องเพื่อให้เกิดนิมิตที่งดงาม ผู้ปฏิบัติจะค่อยๆ เข้าถึงอัปปนาสมาธิจนอาจเข้าถึง “ดวงปฐมมรรค” ได้ในที่สุด dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-การใช้กสิณ
-ปฐวีกสิณ
-อาโปกสิณ
-การเจริญสมาธิ
-ลักษณะนิมิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ให้ถูกสิณเหมือนการมองส่องกระจกดูใบหน้าของตนเอง โดยที่ไม่ต้องพิจารณาสี ไม่ต้องใส่ใจ ถึงลักษณะแห่งปฐวีนิมิตนั้น แต่ว่าจะทิ้งสีเสียก็ไม่ได้ นึกเสียว่าสีนั้นเป็นอันเดียวกับดินซึ่งเป็น ที่อาศัยของมัน แยกกันไม่ออก แล้วพิจารณาดินพร้อมกับสีที่อาศัยพร้อมๆ กัน แล้วจึงบริกรรม ว่า ปฐวี ๆ ๆ หรือ ดินๆ ๆ เป็นร้อยครั้งพันครั้ง เมื่อลืมตาดูดวงกสิณแล้วหน่อยหนึ่งก็หลับตาลง น้อมเอาดวงกสิณมาไว้ที่ศูนย์กลางกาย แล้วจึงลืมตาขึ้นดูอีก สลับกันไปจนติดแน่นเป็น อุคคหนิมิตที่ศูนย์กลางกาย คือ จะหลับตาหรือลืมตาก็เห็นดวงกสิณชัดเจนเท่ากันจนคล่องแคล่ว ปฏิภาคนิมิตก็จะเกิดขึ้นเป็นสภาพที่สะอาด ไม่ด่างพร้อยจะใสเป็นกระจกงามกว่าอุคคหนิมิต จิตจะตั้งมั่น นิวรณ์ 5 จะค่อย ๆ สงบระงับ พากเพียรปฏิบัติต่อไปก็จะได้อัปปนาสมาธิ คือ ใจ รวมหยุดสนิทจนตกศูนย์เข้าถึง “ดวงปฐมมรรค” ได้ อนึ่งองค์กสิณที่ใช้เพ่งอยู่นี้ ผู้ปฏิบัติต้องให้ความเคารพนับถือให้เหมือน ๆ กันกับ ความเคารพนับถือพระบรมสารีริกธาตุ แล้วต้องหมั่นดูแลรักษาให้สะอาด มิให้มีฝุ่นละอองมา แปดเปื้อน เหมือนกับการรักษาพระพุทธรูปฉะนั้น 1.4.2 อาโปกสิณ (กสิณน้ำ) ในการเจริญสมาธิโดยใช้อาโปกสิณ ควรได้นิมิตคือน้ำ เป็นน้ำที่จัดทำขึ้นหรือน้ำตาม ธรรมชาติก็ได้ หากเป็นผู้ที่เคยปฏิบัติอาโปกสิณในชาติก่อน ๆ เมื่อเพ่งน้ำที่ใดที่หนึ่ง เช่น ในสระ หรือในบ่อ ในแม่น้ำหรือในทะเล ก็สามารถทำให้เกิดอุคคหนิมิตได้โดยง่าย สำหรับการทำกสิณน้ำ ผู้ปฏิบัติควรหลีกเลี่ยงโทษแห่งกสิณ คือ อย่านำน้ำที่มีสีเขียว สี เหลือง สีแดง หรือสีขาวอย่างใดอย่างหนึ่งมาใช้ทำกสิณ แต่ให้ทำกสิณโดยการนำผ้าขาวขึง กลางแจ้งรองน้ำฝนบริสุทธิ์มาใส่ภาชนะ เช่น ขัน ใส่เต็มขอบปากภาชนะ หรือถ้าไม่มีน้ำฝน ให้ นำน้ำสะอาดอื่นมาใส่ให้เต็มขอบปากภาชนะ แล้วนำไปตั้งไว้ในที่สงบๆ ดังที่กล่าวไว้ในปฐวีกสิณ ต่อจากนั้นให้นั่งขัดสมาธิคู่บังลังก์ ตั้งกายให้ตรงแล้วไม่ต้องใส่ใจสีของน้ำหรือลักษณะ ของน้ำ เพ่งดูน้ำนั้น บริกรรมภาวนาว่า อาโป ๆ ๆ หรือ น้ำๆ ๆ หรือคำใด ๆ ที่หมายถึงน้ำ จนเกิด อุคคหนิมิต ซึ่งอาจมีลักษณะเหมือนกระเพื่อมอยู่ หรือถ้าน้ำมีฟองก็จะปรากฏเช่นกับนิมิตนั้น 1 มหาฎีกาว่า คนที่ดูเงาหน้าของตนในแว่น (กระจก) นั้นย่อมไม่เหลือกตา ไม่หรี่ตา ไม่พิจารณาสีของแว่น ทั้ง ไม่ได้ใส่ใจถึงลักษณะของแว่นด้วย แต่ใช้ตามองดูพอดี เห็นแต่เงาหน้าของตนเองเท่านั้น ฉันใด พระโยคาวจรนี้ก็ฉันนั้น เพ่ง ดูปฐวีกสิณด้วยอาการพอดี ขวนขวายแต่ถือจะเอานิมิตเท่านั้น ไม่พะวงถึงสีและลักษณะ คำว่าลักษณะ ท่านหมายเอา ลักษณะของปฐวีธาตุ คือ ความแค่นแข็ง 12 DOU สมาธิ 6 ส ม ก กั ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิ ธี (1)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More