ข้อความต้นฉบับในหน้า
นั้นอีก ข้อนี้ฉันใด เมื่อปฏิกูลนิมิตปรากฏแล้ว ผู้เจริญก็พึ่งก้าวล่วงบัญญัติฉันนั้น
6. อนุปุพฺพมุญจนโต การพิจารณาโดยทิ้งโกฏฐาสะที่ไม่ปรากฏ โดยทิ้งสี สัณฐาน
ที่เกิด ที่ตั้ง ขอบเขต ตามลำดับ คือ ในขณะที่พิจารณาไปตามลำดับตั้งแต่ เกสาจนถึง มุตต์ โดย
อนุโลม และตั้งแต่ มุตฺติ จนถึงเกสา โดยปฏิโลมอยู่นั้น พึงสังเกตดูว่า โกฏฐาสะอันใด หรือหมวดใด
มีการปรากฏชัดมาก และต่อไปในระหว่างนั้น ก็พึงสังเกตดูอีกว่า โกฏฐาสะอันใดหรือหมวด
อื่นใดปรากฏชัดกว่าก็จงพิจารณาแต่โกฏฐาสะอันนั้นหรือหมวดนั้นแล้วละทิ้งที่ไม่ค่อยชัดนั้นเสีย
ให้คัดเลือกอย่างนี้เรื่อยไปจนเหลือโกฏฐาสะเพียง 2 อย่าง ใน 2 อย่างนั้นจงสังเกตดูอีกว่า
อันไหนปรากฏชัดมากกว่า ก็จงพิจารณาอันนั้น ละอันที่ปรากฏชัดน้อยเสีย เพราะการพิจารณา
โกฏฐาสะนี้ เมื่อถึงขั้นสุดท้ายแล้ว ต้องถือเอาแต่เพียงอันเดียว ไม่ต้องถือเอาทั้ง 32 อย่าง
ท่านอรรถกถาจารย์ได้เปรียบเทียบข้อนี้ว่าดุจดังนายพรานต้องการจับลิงซึ่งอยู่ในป่าตาล
มีตาล 32 ต้น เขาเอาลูกศรยิงใบตาลซึ่งลิงเกาะอยู่ต้นแรก แล้วทำการขู่ตะคอก ลิงจึงกระโดด
ไปที่ต้นตาลอื่น ๆ โดยลำดับจนกระทั่งถึงต้นสุดท้าย นายพรานก็ตามไปทำอย่างนั้นอีก ลิงก็
กระโดดกลับจากต้นสุดท้ายมาสู่ตาลต้นแรกโดยทำนองนั้นอีก กลับไปกลับมาอยู่ดังนี้ โดยที่ถูก
ขู่ตะคอกอยู่ตลอดเวลา ในที่สุดเมื่อหมดแรง ลิงก็ต้องหยุดอยู่ที่ต้นตาลต้นหนึ่ง โดยยึดใบตาล
อ่อนไว้แน่น แม้ถูกนายพรานแทงเท้าใดก็ไม่กระโดดหนี ฉันใด จิตของพระโยคีบุคคลที่ยึดใน
โกฏฐาสะอย่างใดอย่างหนึ่งใน 32 นั้นก็เช่นกัน โกฏฐาสะทั้ง 32 เปรียบเหมือนต้นตาล 32 ต้น
ในป่าตาล ใจเปรียบเหมือนลิง ผู้ปฏิบัติเปรียบเหมือนนายพราน
7. อปุปนาโต การพิจารณาโกฏฐาสะอย่างใดอย่างหนึ่งให้เข้าถึงอัปปนา คือ เมื่อผู้
ปฏิบัติได้พิจารณาโกฏฐาสะอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยการละทิ้งโกฏฐาสะที่ไม่ค่อยชัดไปตามลำดับ
จนกระทั่งเหลืออันใดอันหนึ่ง ต่อจากนั้นก็พิจารณาโกฏฐาสะอันนั้นจนถึงฌาน เพราะโกฏฐาสะ
แต่ละอย่างก็ให้ฌานด้วยกันทั้งสิ้น การที่จะต้องเจริญโกฏฐาสะทั้ง 32 ในระยะแรกนั้น ก็เพื่อ
จะได้รับประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งใน 2 ประการ ประการหนึ่งก็คือ ในขณะที่กำลังพิจารณา
โกฏฐาสะโดยความเป็นอนุโลมปฏิโลมในหมวดทั้ง 6 ตามลำดับอยู่ ปฐมฌานอาจเกิดขึ้นได้
อีกประการหนึ่ง ถ้าหากว่าฌานไม่เกิดก็จะได้พิจารณา เลือกโกฏฐาสะอื่นต่อไปว่า โกฏฐาสะ
อันใดเหมาะสมกับอัธยาศัยของตนตามหลักข้อที่ 6
8.-10. ตโย จ สุตฺตนฺตา การพิจารณาในพระสูตร 3 อย่าง คือ อธิจิตตสูตร สีติภาว
สูตร โพชฌังคโกสัลลสูตร คือ ผู้ฟังตรวจดูการปฏิบัติของตนให้ถูกตรงตามหลักแห่งสูตรทั้ง 3 เพื่อ
1 สัมโมหวิโนทินี อรรถกถาวิภังค์ มก. เล่มที่ 78 หน้า 63
บ ท ที่ 4 ก า ย ค ต า ส ติ
DOU 117