ข้อความต้นฉบับในหน้า
16. ย่อมศึกษาว่าเราเห็นการสละคืนกิเลสหายใจเข้าออก คือ รู้ชัดทุกข์โทษภัย
ตามความเป็นจริง คิดว่าสิ่งเหล่านี้ไม่เที่ยง แล้วทำตัวเองให้พ้นจากทุกข์โทษภัยไปอยู่ใน
ความดับ คือ นิพพาน เราสำเหนียกอย่างนี้แล้วบรรลุความสุข ความสงบ ความประณีต บัณฑิต
ทั้งหลายพึงเข้าใจอย่างนี้ว่า สังขารทุกอย่างถูกนำไปสู่ความระงับกิเลสทุกอย่างถูกละทิ้งไป ตัณหา
ถูกทำลาย ราคะสิ้นไป เป็นความสงบที่เกิดจากนิพพาน
ในวิธีฝึกอานาปานสติทั้ง 16 วิธีนี้ 12 วิธีแรกทำให้ได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา ส่วน 4
วิธีหลัง ทำให้ได้วิปัสสนาอย่างเดียว
5.4 การเจริญอานาปานสติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย
การเจริญอานาปานสติหากจะให้จิตสงบถึงระดับอัปปนาสมาธิ ต้องหาสถานที่ที่สงบสงัด
เช่น เรือนว่าง ในถ้ำ โคนต้นไม้หรือในป่าที่ไม่มีผู้ใดหรือเสียงรบกวน แม้แต่เสียงเพลง เสียง
อึกทึกอื่น ๆ เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะเสียงเป็นปฏิปักษ์ต่อฌาน เมื่อเลือกสถานที่ได้แล้ว
ให้นั่งคู่บัลลังก์หรือนั่งขัดสมาธิ ตั้งกายให้ตรง อย่าค้อมมาข้างหน้าหรือแอ่นไปข้างหลัง ขาขวา
ทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ปลายนิ้วชี้ข้างขวาจรดปลายนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย การนั่งในท่านี้
มีผลดี คือ ทำให้ตัวตรง เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลมหายใจเดินสะดวก นั่งได้นาน สำหรับผู้ที่
มีปัญหาสุขภาพที่ทำให้ไม่สามารถนั่งขัดสมาธิได้ จะนั่งห้อยเท้าหรือนั่งบนเก้าอี้ก็ได้ ให้เลือก
เอาอิริยาบถที่นั่งได้สบายพอดี ผ่อนคลาย ไม่ฝืนเกินไป และเป็นท่านั่งที่ทำให้นั่งได้นาน
เมื่อนั่งไปเรียบร้อยแล้ว ให้หลับตาลงเบาๆ อย่าเกร็ง หายใจยาวๆ ลึก ๆ ช้า ๆ ที่เรียกว่าหายใจ
ให้เต็มปอด ให้จิตใจโปร่งสบาย คอยกำหนดลมหายใจเข้าออกให้รู้ชัด รู้สึกตัวตลอด
อย่าหลงลืมหรือเผลอสติ เมื่อหายใจออกก็รู้ว่าหายใจออก หายใจเข้าก็รู้ว่าหายใจเข้า หายใจ
เข้าออกสั้น ก็ให้รู้ว่าหายใจเข้าออกสั้น หายใจเข้าออกยาวก็ให้รู้ว่าหายใจเข้าออกยาว การ
กำหนดลมหายใจเข้าออกนี้ ให้นับไปด้วย จะได้ไม่เผลอสติหรือลืมกำหนด โดยขั้นตอนการ
กำหนดลมหายใจมีอยู่ 4 ขั้นตอน ดังนี้
วิธีมนสิการ 4 ขั้นตอน
1. คณนา
การนับ
2. อนุพนธนา
การติดตาม
3. ผุสนา
การถูกต้อง
4. ฐปนา
การตงจิตมน
บทที่ 5 อ าน า ป า น ส ติ และ อุปสมานุสติ DOU 133