ข้อความต้นฉบับในหน้า
แนวคิด
1. อนุสติ 6 คือ การตามระลึกถึงธรรมที่เป็นกุศลเนือง ๆ ถือเป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน
ของพระอริยสาวกและผู้มีปัญญาเพื่อความบริสุทธิ์แห่งจิต และเพื่อให้จิตตั้งอยู่ในคุณธรรม
เบื้องสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป
2. การเจริญพุทธานุสติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายให้ระลึกถึงพุทธคุณทั้ง 9 ตั้งแต่ อรหัง
สัมมาสัมพุทโธ จนกระทั่งถึง ภควา จนกระทั่งจิตเริ่มสงบหยุดนิ่ง จึงนึกภาพพระพุทธปฏิมากร
เป็นตัวแทนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาไว้ที่ศูนย์กลางกาย จนกระทั่งเปลี่ยนเป็นบริกรรมนิมิต
ปฏิภาคนิมิต และตกศูนย์เข้าถึงดวงธรรมภายใน
3. การเจริญธัมมานุสติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย ให้ระลึกถึงธรรมคุณทั้ง 6 ตั้งแต่
สันทิฏฐิโก จนถึง ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ จนกระทั่งจิตเริ่มสงบหยุดนิ่ง แล้วจึงนึกภาพ
ดวงธรรม หรือพระไตรปิฎกแทนพระธรรม มาไว้ที่ศูนย์กลางกาย จนกระทั่งเปลี่ยนเป็น
บริกรรมนิมิต ปฏิภาคนิมิต และตกศูนย์เข้าถึงดวงธรรมภายใน
4. การเจริญสังฆานุสติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย ให้ระลึกถึงสังฆคุณทั้ง 9 ตั้งแต่
สุปฏิปันโน จนถึง อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง จนกระทั่งจิตเริ่มสงบนิ่ง แล้วจึงนึกพระสงฆ์ที่
ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมาไว้ที่ศูนย์กลางกาย จนกระทั่งเปลี่ยนเป็นบริกรรมนิมิต ปฏิภาคนิมิต
และตกศูนย์เข้าถึงดวงธรรมภายใน
5. การเจริญสีลานุสติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย ให้ระลึกถึงศีลที่ตนรักษาว่าครบถ้วน
บริบูรณ์เพียงใด จนกระทั่งใจหยุดนิ่ง ตกศูนย์เข้าถึงดวงธรรมภายใน
6. การเจริญจาคานุสติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย ให้ระลึกถึงการบริจาคทานที่ตน
ได้เคยกระทำไว้ จนใจเริ่มสงบ แล้วจึงนึกถึงวัตถุทานอย่างใดอย่างหนึ่งไว้ที่ศูนย์กลางกาย
จนกระทั่งเปลี่ยนเป็นบริกรรมนิมิต ปฏิภาคนิมิต และตกศูนย์เข้าถึงดวงธรรมภายใน
7. การเจริญเทวตานุสติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย ให้ระลึกถึงกุศลธรรมที่ทำให้เป็น
เทวดา จนกระทั่งใจสงบหยุดนิ่ง ตกศูนย์เข้าถึงดวงธรรมภายใน หรือระลึกนึกถึงภาพ
ของเทวดามาไว้ที่ศูนย์กลางกาย เปลี่ยนเป็นบริกรรมนิมิต ปฏิภาคนิมิต และตกศูนย์เข้าถึง
ดวงธรรมภายใน
26 DOU สมาธิ 6 ส ม ก กั ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิ ธี (1)