ปัญญาและสัมปชัญญะในธรรมวินัย MD 306 สมาธิ 6  หน้า 29
หน้าที่ 29 / 156

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความสำคัญของปัญญาและสัมปชัญญะในหมู่ภิกษุในธรรมวินัย ซึ่งเน้นการพิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา และธรรมในธรรม โดยเปรียบเทียบกับพ่อครัวผู้ฉลาด รู้จักตรวจสอบรสชาติของอาหาร ส่งผลให้ภิกษุผู้มีปัญญาและความเข้าใจสามารถละอุปกิเลสได้ ทำให้เกิดความสุขในปัจจุบันและคงความสัมปชัญญะ.

หัวข้อประเด็น

-ปัญญาในธรรมวินัย
-สัมปชัญญะและการพิจารณา
-การปล่อยวางอุปกิเลส
-การเปรียบเทียบกับพ่อครัว
-ความสุขในปัจจุบัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เฉียบแหลม ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ จิตย่อมไม่ตั้งมั่น ยังละอุปกิเลสไม่ได้ เธอไม่สำเหนียกนิมิตนั้นย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ จิตย่อมไม่ตั้งมั่น ยังละอุปกิเลสไม่ได้ เธอ ไม่สำเหนียกนิมิตนั้น ภิกษุนั้น.... ย่อมไม่ได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และไม่ได้สติ สัมปชัญญะ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาดเฉียบแหลม ไม่สำเหนียก นิมิตแห่งจิตของตน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพ่อครัวผู้มีปัญญาฉลาดเฉียบแหลม บำรุงพระราชา หรือมหาอำมาตย์ของพระราชาด้วยสูปะต่างชนิดมีรสเปรี้ยวจัดบ้าง ขมจัดบ้าง เผ็ดจัดบ้าง หวาน จัดบ้าง มีรสเผื่อนบ้างไม่เปื้อนบ้าง มีรสเค็มบ้าง จืดบ้าง พ่อครัวนั้นย่อมสังเกตรสอาหารของ ตนว่าวันนี้ ภัตและสูปะของเราชนิดนี้ ท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะนี้ หรือหยิบเอาสูปะนี้มาก หรือท่านชมสูปะนี้ วันนี้ ภัตและสูปะของเรามีรสเปรี้ยวจัด....วันนี้ ภัตและสูปะของเรามีรสขมจัด.... มีรสเผ็ดจัด.... มีรสหวานจัด.... มีรสเผื่อน.... มีรสไม่เปื้อน... มีรสเค็ม.... วันนี้ ภัตและสูปะของเรา มีรสจืดท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะมีรสจืด หรือท่านหยิบเอาสูปะมีรสจืดมากหรือท่านชม สูปะมีรสจืด ดังนี้ พ่อครัวนั้นย่อมได้เครื่องนุ่งห่ม ได้ค่าจ้างได้รางวัล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ พ่อครัวนั้นเป็นคนมีปัญญา ฉลาดเฉียบแหลม สังเกตรสอาหารของตน ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา ฉลาด เฉียบ แหลม ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ จิตย่อมตั้งมั่น ละอุปกิเลสได้ เธอย่อม สำเหนียกนิมิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ จิตย่อมไม่ตั้งมั่น ละอุปกิเลสได้ เธอย่อม สำเหนียกในนิมิตนั้น ภิกษุนั้นย่อมได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และได้สติสัมปชัญญะ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้มีปัญญาฉลาด เฉียบแหลม สำเหนียกนิมิตแห่งจิต ของตน”1 1 สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, มก. เล่มที่ 30 ข้อ 304-307 หน้า 391-393 บ ท ที่ 1 ก ล ณ 1 0 DOU 19
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More