ความหมายของชีวิตและการตาย MD 306 สมาธิ 6  หน้า 85
หน้าที่ 85 / 156

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความตายว่าไม่มีนิมิตแน่นอน สัตว์ทั้งหลายสามารถตายได้ในสถานที่และเวลาที่แตกต่างกัน รวมถึงข้อคิดเกี่ยวกับอายุขัยที่สั้น และความสำคัญในการทำกุศลเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับชีวิตหลังความตายโดยเปรียบเทียบกับคติ 5 ที่สัตว์เกิดในประเภทต่างๆ.

หัวข้อประเด็น

-ความตาย
-ไม่มีนิมิต
-อายุขัย
-คติ 5
-การทำกุศล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

กาล ชื่อว่าไม่มีนิมิต เพราะไม่มีกำหนดอย่างนี้ว่า จะต้องตายในเวลานี้เท่านั้น ไม่ตาย ในเวลาอื่น ด้วยว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมตายในตอนเช้าก็มีในตอนเที่ยงเป็นต้นตอนใดตอนหนึ่งก็มี สถานที่ทอดร่าง ชื่อว่าไม่มีนิมิต เพราะไม่มีกำหนดอย่างนี้ว่า เมื่อสัตว์ทั้งหลายตาย ร่างจะต้องตกอยู่ที่นี่เท่านั้นไม่ตกอยู่ที่อื่น ด้วยว่าร่างของบุคคลทั้งหลายผู้เกิดภายในบ้าน เวลาตายไปตายอยู่ภายนอกบ้านก็มี บางคนเกิดภายนอกบ้านแต่เวลาตายมาตายอยู่ ภายในบ้านก็มี โดยนัยเดียวกันนั้น บัณฑิตพึงพรรณนาให้กว้างไปหลายๆ ประการ เป็นต้นว่า ร่างของสัตว์ทั้งหลายผู้เกิดบนบกไปตายตกอยู่ในน้ำ หรือว่าร่างของสัตว์ทั้งหลายผู้เกิดในน้ำ มาตายตกอยู่บนบกก็มี ดังนี้เป็นต้น คติ ชื่อว่าไม่มีนิมิต เพราะไม่มีกำหนดอย่างนี้ว่า สัตว์ผู้จุติจากคตินี้ จะต้องไปเกิดในคตินี้ ด้วยเหตุที่ว่าสัตว์ทั้งหลายผู้จุติจากเทวโลกมาเกิดเป็นมนุษย์ก็มี ผู้จุติจากมนุษยโลกไป เกิดในโลกอื่นมีเทวโลกเป็นต้นที่ใดที่หนึ่งก็มี เพราะอย่างนี้ สัตว์โลกจึงหมุนเวียนไปใน 5 คติ 1 ดุจโคที่เขาเทียมไว้ในยนต์เดินเวียนอยู่อย่างนั้น นักปฏิบัติพึงระลึกถึงความตาย โดยชีวิตไม่มีนิมิต ดังกล่าวมาแล้วอย่างนี้ 3.4.7. อทฺธานปริจเฉทโต ระลึกโดยชีวิตมีกำหนดกาล อทฺธานปริจเฉทโต อธิบายว่า อายุขัยของมนุษย์ทั้งหลายในปัจจุบันนี้สั้น ผู้ที่มีอายุยืน มีอายุอยู่ถึง 100 ปี หรือเกินกว่านั้นก็มีอยู่บ้าง แต่เป็นส่วนน้อย เพราะ เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายุของมนุษย์ทั้งหลายนี้น้อยนัก จำต้องไปสู่สัมปรายภพ ควร ทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ สัตว์ผู้เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนที่ เป็นอยู่นาน ย่อมเป็นอยู่ได้เพียงร้อยปี หรือจะอยู่เกินไปได้บ้าง ก็มีน้อย” ในอรกานุสาสนีสูตร ได้กล่าวถึงชีวิตว่าเป็นของน้อย นิดหน่อย มีทุกข์มาก มีความ 1 คติ 5 = ที่ไปเกิดของสัตว์, ภพที่สัตว์ไปเกิด 5 คือ 1. นิรยคติ คือ นรก 2. ติรัจฉานคติ คือ เดรัจฉาน 3. เปตติคติ คือ เปรต และอสุรกาย 4. มนุษยคติ คือ มนุษย์ 5. เทวคติ คือ เทวดา และพรหม * สังยุตตนิกาย สคาถวรรค, มก. เล่มที่ 25 ข้อ 440 หน้า 26 * อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต, มก. เล่มที่ 37 ข้อ 71 หน้า 273-274 บ ท ที่ 3 ม ร ณ า นุ สติ DOU 75
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More