ข้อความต้นฉบับในหน้า
อนึ่ง ชีวิตนั้นต้องได้รับความร้อนและความเย็นแต่พอสมควรเท่านั้นจึงเป็นไปได้ แต่
เมื่อบุคคลถูกความเย็นหรือความร้อนเกิน ครอบงำเอา ย่อมวิบัติไป
อนึ่ง ชีวิตนั้นได้ความเป็นไปสม่ำเสมอแห่งมหาภูต (คือธาตุ 4) ทั้งหลายเท่านั้น จึงเป็น
ไปได้ แต่เพราะปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) หรือธาตุที่เหลือมีอาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) เป็นต้น อย่างใด
อย่างหนึ่งกำเริบไป บุคคลแม้สมบูรณ์ด้วยกำลัง ก็กลายเป็นคนมีร่างกายแข็งกระด้างไปบ้าง
มีกายเน่าเหม็นเปรอะเปื้อนด้วยอำนาจแห่งโรคเป็นต้นบ้าง มีอาการร้อนหนัก (คือร้อนไม่ลด)
บ้าง ข้อและเส้นขาดไปบ้าง ถึงสิ้นชีวิต
อนึ่ง เมื่อบุคคลได้กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว ได้แก่อาหารที่กลืนกินเข้าไป
หล่อเลี้ยงร่างกาย) ในกาลอันควรเท่านั้น ชีวิตจึงเป็นไปได้ แต่เมื่อไม่ได้อาหาร ชีวิตก็จบสิ้น
ผู้ปฏิบัติพึงระลึกถึงความตายโดยอายุเป็นของอ่อนแอ โดยนัยดังกล่าวมาแล้วอย่างนี้
3.4.6 อนิมิตฺตโต ระลึกโดยชีวิตไม่มีนิมิต
อนิมิตฺตโต คือ โดยไม่มีกำหนด หมายความว่า โดยไม่มีขีดคั่น
ผู้ปฏิบัติพึงระลึกว่า จริงอยู่ ธรรม 5 ประการนี้ คือ ชีวิต พยาธิ กาล สถานที่ทอดร่าง
และคติ ของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ไม่มีนิมิต รู้ไม่ได้ในธรรม 5 ประการนั้น ชีวิตชื่อว่าไม่มีนิมิต
เพราะไม่กำหนดว่า จะพึงเป็นอยู่เพียงเท่านี้ ไม่เป็นอยู่ต่อแต่นี้ไป เพราะว่าสัตว์ทั้งหลาย
ย่อมตายเสียตั้งแต่ในเวลาที่ยังเป็นกลละก็มี ในเวลาที่ยังเป็นอัมพุทะ เป็นเปสิ เป็นมนะ อยู่ใน
ครรภ์ได้เดือน 1 ได้ 2 เดือน ได้ 3 เดือน ได้ 4 เดือน ได้ 5เดือน ได้ 10 เดือนก็มี ในสมัยที่
ออกจากท้องก็มี นอกจากนั้นก็ตายภายใน 100 ปีก็มี เกิน 100 ปีก็มีเหมือนกัน
พยาธิ ชื่อว่าไม่มีนิมิต เพราะไม่มีกำหนดว่า สัตว์ทั้งหลายจะตายด้วยโรคนี้เท่านั้น
ไม่ตายด้วยโรคอื่น ด้วยว่าสัตว์ทั้งหลายตายด้วยโรคตาก็มี ด้วยโรคนอกนี้มีโรคหูเป็นต้น
อย่างใดอย่างหนึ่งก็มี
* การเกิดขึ้นของรูปของมนุษย์ในครรภ์มารดาหลังปฏิสนธิ
1. กลละ เป็นน้ำใส เป็นหยาดน้ำใส เหมือนน้ำมันงา ใน สัปดาห์ที่ 1 หลังปฏิสนธิ
2. อัมพุทะ เป็นฟองน้ำ (มีลักษณะเป็นฟอง สีเหมือน น้ำล้างเนื้อ) ใน สัปดาห์ที่ 2 หลังปฏิสนธิ
3. เปส เป็นเมือกไข่ (มีลักษณะ เหมือนชิ้นเนื้อเหลว ๆ สีแดง) ใน สัปดาห์ที่ 3 หลังปฏิสนธิ
4. ฆนะ เป็นก้อนไข (มีลักษณะเป็นก้อน มีสัณฐาน เหมือนไข่ไก่) ใน สัปดาห์ที่ 4 หลังปฏิสนธิ
5. ปัญจสาขา เกิดปุ่มทั้งห้า ได้แก่ แขน 2 ขา 2 ศีรษะ 1) ใน สัปดาห์ที่ 5 หลังปฏิสนธิ
74 DOU สมาธิ 6 ส ม ก กั ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิ ธี (1)