ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย) ได้แสดง
ความหมายของคำ อรหัง ไว้ 2 นัย คือ เป็นผู้ไกลและผู้ควร
“อรห์ แปลสั้นๆ ว่าไกล ว่าควร เป็นสองนัยอยู่ “ไกล” หมายความว่า ไกลจากกิเลส
หรือว่า พ้นจากกิเลส เสียแล้ว “ไกล” ตรงข้ามกับปุถุชนคนเรา ซึ่งยังอยู่ใกล้ชิดกิเลส พระองค์
บริสุทธิ์ผุดผ่องดังแท่งทองชมพูนุท หรืออีกอย่างหนึ่งว่าใสเหมือนดวงแก้วอันหาค่ามิได้สมคำที่ว่า
“พุทธรัตนะ”
ประกอบด้วย ตาทิโน เป็นผู้คงที่ไม่หวั่นไหว หากจะมีของหอมมาชะโลมไล้พระวรกาย
ซีกหนึ่ง และเอาของเหม็นมาชโลมซีกหนึ่ง พระหฤทัยของพระองค์ก็ไม่แปรผันยินดียินร้าย
ประการใด และเปรียบได้อีกสถานหนึ่งว่า อินทขีลูปโม พระทัยมั่นคงดังเสาเขื่อน ถึงจะมีพายุ
มาแต่จาตุรทิศก็ไม่คลอน เมื่อเช่นนี้จึงมีนัยที่แปลได้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็น ผู้ควร คือเป็นผู้ที่เรา
สมควรจะเทิดจะบูชาไว้เหนือสิ่งทั้งหมด”
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค แสดงความหมายของคำว่า อรห์ ไว้ 5 นัย คือ
1. เป็นผู้ไกลจากกิเลส
2. เป็นผู้ทรงกำจัดอริ (หมายถึง กิเลส) ทั้งหลายเสียได้
3. เป็นผู้ทรงทำลายซี่กำ (หมายถึง อภิสังขาร) ทั้งหลายเสียได้
4. เป็นผู้ควรทักขิณา
5. เป็นผู้ไม่มีที่ลับในอันที่จะทำบาป
คำว่า “อรหัง” อาจอธิบายสรุปความหมายเป็น 4 นัย คือ
นัยที่ 1 ทรงไกลจากข้าศึก “ข้าศึก” หมายถึงกิเลส พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็น
ผู้ไกลจากกิเลส เพราะทรงกำจัดกิเลสทั้งปวงด้วยมรรคได้หมดอย่างสิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ
จึงทรงพ้นจากกิเลส ไม่ข้องแวะกับกิเลสใด และไม่ทรงประกอบด้วยสิ่งอันเป็นโทษทั้งหลาย
1 พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตตชีโว), พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ, กรุงเทพฯ : นฤมิต โซล (เพรส)
จํากัด, 2546. หน้าที่ 58
* วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ และสมาคมศิษย์หลวงพ่อวัดปากน้ำ, มรดกธรรมของหลวงพ่อวัดปากน้ำ (พระมงคล
เทพมุนี), กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2539. หน้าที่ 2 - 3
บ ท ที่ 2 อ นุ ส ติ 6
DOU 33