การระลึกถึงความตายและการเจริญมรณานุสติ MD 306 สมาธิ 6  หน้า 88
หน้าที่ 88 / 156

สรุปเนื้อหา

การระลึกถึงความตายช่วยให้เกิดการพัฒนาในระดับอุปจารฌาน โดยมี 8 ขั้นของความรู้สึกที่เกี่ยวกับความตาย เช่น ชีวิตจะอยู่ต่อไปได้อีก 24 ชั่วโมง หรือ เพียงเวลาหายใจเข้าออก การเจริญมรณานุสติช่วยให้ปฏิบัติตนได้อย่างไม่ประมาทและน้อมสู่สติปัญญา

หัวข้อประเด็น

-ความตาย
-มรณานุสติ
-การเจริญสมาธิ
-อุปจารสมาธิ
-อัปปนาสมาธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ระลึกถึงความตายทำให้บรรลุได้เพียงระดับของอุปจารฌาน (อุปจารสมาธิ) เท่านั้น ไม่อาจก้าว ขึ้นไปถึงในระดับของอัปปนาสมาธิได้ 3.5 ขั้นแห่งความสำเร็จของการระลึกถึงความตาย เมื่อนักปฏิบัติระลึกถึงความตายอย่างใดอย่างหนึ่งใน 8 อย่างดังกล่าวมานี้ ขั้นแห่ง ความสำเร็จ คือ ความรู้สึกที่เกี่ยวกับความตาย ที่เรียกว่า มรณสัญญา ก็จะเกิดขึ้นเป็นลำดับขั้น มี 8 ประการ คือ 1. ความรู้สึกที่เกี่ยวกับความตายได้เกิดขึ้นว่า ชีวิตของเรานี้จะมีอยู่ต่อไปได้อีก ประมาณแค่วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง (คือ 24 ชั่วโมง) เท่านั้น 2. ความรู้สึกที่เกี่ยวกับความตายได้เกิดขึ้นว่า ชีวิตของเรานี้จะมีอยู่ต่อไปได้อีก ประมาณแค่วันหนึ่ง (คือ 12 ชั่วโมง) เท่านั้น 3. ความรู้สึกที่เกี่ยวกับความตายได้เกิดขึ้นว่า ชีวิตของเรานี้จะมีอยู่ต่อไปได้อีก ประมาณเพียงครึ่งวัน (คือ 6 ชั่วโมง) เท่านั้น 4. ความรู้สึกที่เกี่ยวกับความตายได้เกิดขึ้นว่า ชีวิตของเรานี้จะมีอยู่ต่อไปได้อีก ชั่วเวลากินข้าวอิ่มหนึ่งเท่านั้น 5. ความรู้สึกที่เกี่ยวกับความตายได้เกิดขึ้นว่าชีวิตของเรานี้จะมีอยู่ต่อไปได้อีก ชั่วครึ่งเวลา กินข้าวอิ่มหนึ่งเท่านั้น 6. ความรู้สึกที่เกี่ยวกับความตายได้เกิดขึ้นว่าชีวิตของเรานี้จะมีอยู่ต่อไปได้อีก ชั่วเวลากินข้าวได้เพียง 4 หรือ 5 คำเท่านั้น 7. ความรู้สึกที่เกี่ยวกับความตายได้เกิดขึ้นว่าชีวิตของเรานี้จะมีอยู่ต่อไปได้อีก ชั่วเวลาเคี้ยวข้าวคำหนึ่งเท่านั้น 8. ความรู้สึกที่เกี่ยวกับความตายได้เกิดขึ้นว่า ชีวิตของเรานี้จะมีอยู่ต่อไปได้อีก ชั่วระยะเวลาหายใจเข้าออกเท่านั้น ผู้ที่เจริญมรณานุสติเห็นว่า ชีวิตสิ้นสุดที่ความตาย ก็จะคิดว่า ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ควรจะ ดำเนินชีวิตอย่างไรจึงจะไม่ประมาท พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญผู้ที่เจริญมรณานุสติ หรือระลึก ถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออกว่า เป็นผู้ไม่ประมาท จะเป็นผู้สิ้นกิเลสอาสวะได้เร็วไว ซึ่งการ 78 DOU สมาธิ 6 ส ม ก กั ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิ ธี (1)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More