พุทราพันธุ์อินเดียและลักษณะหนังในร่างกาย MD 306 สมาธิ 6  หน้า 107
หน้าที่ 107 / 156

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงลักษณะของหนังในร่างกายที่ได้จากการศึกษาเกี่ยวกับพุทราพันธุ์อินเดีย โดยมีการอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับสัญลักษณ์ของหนังในที่ต่างๆ ของร่างกาย เช่น หนังนิ้วมือ หนังแขน และส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงวิธีการมุ่งเน้นการกำหนดหนังโดยนักปฏิบัติ นอกจากนี้ยังอธิบายถึงการแบ่งประเภทหนังตามทิศและโอกาสต่างๆ ของร่างกายด้วย ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการทำสมาธิในการกำหนดหนัง

หัวข้อประเด็น

-ลักษณะหนังพุทราพันธุ์อินเดีย
-วิธีการกำหนดหนังในร่างกาย
-ประเภทของหนังตามที่ต่างๆ
-การปฏิบัติสมาธิปราณีต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ของพุทรา (พุทราพันธุ์อินเดีย ไม่ใช่พุทราพันธุ์ไทย ) โดยสี : มีสีขาวเท่านั้น ก็ความที่หนังขาวนั้นจะปรากฏเมื่อผิวถลอก เพราะถูก ไฟลวกหรือถูกเครื่องประหาร โดยสัณฐาน : สัณฐานของหนังในร่างกายมีลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ หนังนิ้วเท้ามีสัณฐานดังรังไหม หนังหลังเท้ามีสัณฐานดังรองเท้าหุ้มหลังเท้า หนังแข็ง มีสัณฐานดังใบตาลห่อข้าว หนังขามีสัณฐานดังได้บรรจุข้าวสารเต็ม หนังตะโพกมีสัณฐานดัง ผืนผ้ากรองน้ำที่เต็มด้วยน้ำหนังหลังมีสัณฐานดังหนังหุ้มโล่ หนังท้องมีสัณฐานดังหนังหุ้มรางพิณ หนังอก โดยมากมีสัณฐานสี่เหลี่ยม หนังแขนทั้งสองข้างมีสัณฐานดังหนังหุ้มแห่งธนู หนังหลังมือ มีสัณฐานดังฝักมีด หรือสัณฐานดังถุงใส่โล่ หนังนิ้วมือมีสัณฐานดังฝักกุญแจ หนังคอมีสัณฐาน ดังเสื้อปิดคอ หนังหน้ามีช่องใหญ่น้อย มีสัณฐานดังรังตั๊กแตน หนังศีรษะ สัณฐานดังถลกบาตร วิธีกำาหนดหนัง นักปฏิบัติผู้จะกำหนดเอาหนังเป็นอารมณ์ พึงพิจารณาขึ้นเบื้องบน ตั้งแต่ริมฝีปากบน แล้วกำหนดหนังที่หุ้มอยู่รอบปากก่อนเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงกำหนดหนังหุ้มกระดูกหน้าผาก จากนั้นจึงส่งจิตพิจารณาเข้าไปโดยระหว่างกระดูกศีรษะและหนังหุ้มศีรษะ ดุจสอดมือเข้าไป โดยระหว่างแห่งบาตรที่สวมถลกฉะนั้น แล้วแยกความที่หนังเนื่องเป็นอันเดียวกันกับกระดูก ออกจากกัน แล้วกำหนดหนังศีรษะ จากนั้นกำหนดหนังคอ จากนั้นกำหนดหนังมือขวาทั้งโดย อนุโลมและปฏิโลม (มหาฎีกาว่า กำหนดตั้งแต่หัวไหล่ลงไปทางหลังแขนเป็นอนุโลม กำหนด แต่ข้อมือขึ้นมาทางหน้าแขนเป็นปฏิโลม) ครั้นแล้วกำหนดหนังมือซ้ายโดยนัยนั้นเหมือนกัน จากนั้นกำหนดหนังหลัง ครั้นกำหนดหนังหลังนั้นแล้ว จึงกำหนดหนังเท้าขวาทั้งโดยอนุโลม และปฏิโลม แล้วจึงกำหนดหนังเท้าซ้ายโดยนัยเดียวกันนั้น จากนั้นกำหนดหนังท้องน้อย หนังหน้าท้อง หนังทรวงอกและหนังคอตามลำดับไป จากนั้นกำหนดหนังใต้คางถัดหนังคอขึ้นมา จนถึงริมฝีปากล่างเป็นที่สุดจึงเสร็จ เมื่อปฏิบัติกำหนดเอาหนังหยาบๆ ได้อย่างนี้ แม้หนังที่ ละเอียดก็ย่อมจะปรากฏ โดยทิศ : หนังเกิดในทิศทั้งเบื้องบนและเบื้องล่างของร่างกาย โดยโอกาส : หนังหุ้มร่างกายทั้งสิ้นอยู่ โดยปริจเฉท : เบื้องล่างกำหนดด้วยพื้นที่มันตั้งอยู่ เบื้องบนกำหนดด้วยอากาศ มีอยู่ โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่อยู่ในโกฏฐาสะอื่นๆ บ า ที่ 4 ก า ย ค ต า ส ติ DOU 97
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More