ข้อความต้นฉบับในหน้า
ก็ตามแต่วิญญูชนทั้งหลายนั้นย่อมสรรเสริญศีลของเรานี้เป็นเหตุทำให้สมาธิเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
แล้วตรวจตราดูศีลของเราว่าเป็น “ศีลที่มีโทษ” หรือ “พ้นไปจากโทษ” ซึ่ง “ศีลที่มีโทษ”
นั้นมี 4 อย่าง คือ
ศีลที่มีโทษ 4 อย่าง
1. ขัณฑศีล (ศีลขาด) ได้แก่ ศีลของคฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ตาม ที่มีสิกขาบทข้อต้น
หรือข้อปลายอย่างใดอย่างหนึ่งขาดไป เช่น ในศีลแปดนั้น ปาณาติปาตาเวรมณี หรือ อุจจาสยนะ
มหาสยนาเวรมณี ข้อใดข้อหนึ่งขาดไป ศีลอย่างนี้เรียกว่า ขัณฑศีล
2. ฉิททศีล (ศีลเป็นรู) ได้แก่ สิกขาบทท่ามกลาง เช่น ในศีลแปดนั้น ข้อที่สองถึงข้อที่
เจ็ด ข้อใดข้อหนึ่งขาดไป อย่างนี้เรียกว่า ฉัททศีล
3. สพลศีล (ศีลด่าง) ได้แก่ สิกขาบทท่ามกลาง คือ ข้อที่สองถึงข้อที่เจ็ดนั้นขาดไป แต่
ไม่ใช่ขาดไปตามลำดับ อย่างนี้เรียกว่า สพลศีล
4. กัมมาสศีล (ศีลพร้อย) ได้แก่ สิกขาบทท่ามกลาง คือ ข้อที่สองถึงข้อที่เจ็ดนั้นขาดไป
สองหรือสามหรือสี่ติดต่อกันตามลำดับ อย่างนี้เรียกว่า กัมมาสศีล
ส่วน “ศีลที่พ้นจากโทษ” ก็มี 4 อย่างเช่นกัน คือ
1. อขัณฑศีล (ศีลไม่ขาด) ได้แก่ ศีลของคฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ตาม ที่มีสิกขาบท
ข้อต้นหรือข้อปลายทั้งสองนั้นมิได้ขาด คงรักษาไว้ได้เป็นปกติ อย่างนี้เรียกว่า อขัณฑศีล
2. อฉิททศีล (ศีลไม่เป็นรู) ได้แก่ สิกขาบทท่ามกลางทั้ง 6 ข้อนั้น ไม่ขาด คงรักษาไว้
ได้เป็นปกติ อย่างนี้เรียกว่า อนิททศีล
3. อสพลศีล (ศีลไม่ด่าง) ได้แก่ สิกขาบทท่ามกลางทั้ง 6 ข้อนั้น แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง
ไม่ขาด คงรักษาไว้ได้เป็นปกติ อย่างนี้เรียกว่า อสพลศีล
4. อกัมมาสศีล (ศีลไม่พร้อย) ได้แก่ สิกขาบทท่ามกลางทั้ง 6 ข้อนั้น ไม่ขาดแม้แต่
อย่างใดอย่างหนึ่ง คงรักษาไว้ได้เป็นปกติบริบูรณ์ ศีลอย่างนี้เรียกว่า อกัมมาสศีล
เมื่อตรวจตราศีลของเราว่า พ้นจากโทษไม่มีโทษอย่างนี้แล้ว ใจก็แช่มชื่นเบิกบาน
อาจหาญในศีล พร้อมที่จะตั้งลงในสมาธิต่อไปได้
52 DOU สมาธิ 6 ส ม ก กั ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิ ธี (1)