การเจริญอานาปานสติและเสนาสนะที่เหมาะสม MD 306 สมาธิ 6  หน้า 139
หน้าที่ 139 / 156

สรุปเนื้อหา

ทรงตรวจตราเสนาสนะเพื่อการปฏิบัติธรรมอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะในการเจริญอานาปานสติช่วงฤดูต่างๆ อธิบายถึงท่านั่งที่ถูกต้องและการตั้งสติระลึกลมหายใจทั้งยาวและสั้น โดยการทำเช่นนี้ทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถบรรลุอริยผลอย่างมีระเบียบและมีความก้าวหน้าในธรรมะ กรุณาเยี่ยมชม dmc.tv สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

หัวข้อประเด็น

- การเลือกเสนาสนะ
- การเจริญอานาปานสติ
- วิธีการนั่งที่ถูกต้อง
- การตั้งสติและระลึกถึงลมหายใจ
- ความสำคัญของการปฏิบัติธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ทรงตรวจตราดูเสนาสนะที่เหมาะสมแก่ผู้ปฏิบัติเป็นอย่างดีแล้ว จึงได้ชี้บอกว่าควรเจริญกัมมัฏ ฐานในที่นั้นที่นี้ เมื่อทำตามที่พระองค์แนะนำแล้ว ได้บรรลุอริยผลตามลำดับ จนกระทั่งเป็น พระอรหันต์แล้ว สักการะอันใหญ่หลวงย่อมบังเกิดขึ้นกับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า สมเด็จ ผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง จริงแท้หนอฯ ในเรื่องนี้อุปมาได้ด้วยพญาเสือเหลืองซึ่งอาศัยป่า พงหญ้า ป่ารกเชิงเขาซุ่มอยู่ ย่อม สามารถจับสัตว์ชนิดต่าง ๆ มีควายป่า ละมั่ง หมูป่า เป็นต้น ฉันใด ผู้ปฏิบัติธรรมเลือกสถานที่ ที่เหมาะสมในการเจริญภาวนา มีป่า เป็นต้น ย่อมบรรลุถึง โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค และอริยผลตามลำดับ ฉันนั้น ครั้นทรงแนะนำเสนาสนะที่เหมาะสมแก่การบำเพ็ญอานาปานสติในฤดูทั้ง 3 รวมทั้ง เหมาะกับธาตุและจริยาแล้ว ทรงแนะนำอิริยาบถที่สงบ และไม่เป็นไปในฝ่ายของความหดหู และฟุ้งซ่าน คือ อิริยาบถนั่ง ท่านั่งที่นั่งได้นาน ลมหายใจเดินได้สะดวก ทรงแนะนำให้นั่งในท่า คู่บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติอยู่เฉพาะหน้า คือ นั่งพับขาทั้งสองโดยรอบ (นั่งขัดสมาธิขาขวา ทับขาซ้าย) ตั้งกายส่วนบนให้ตรงซึ่งทำให้กระดูกสันหลังทั้ง 18 ข้อจดกัน เหมือนเหรียญที่วาง ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ มือขวาทับมือซ้าย เพราะเมื่อนั่งอย่างนี้แล้ว หนัง เนื้อและเส้นเอ็นจะไม่ตึง ทำให้ ไม่ปวดไม่เมื่อย เมื่อเป็นอย่างนั้น จิตจะรวมหยุดนิ่งได้โดยง่าย มีความเจริญก้าวหน้าในการ เจริญภาวนา เพราะมีสติอยู่กับกัมมัฏฐานตลอดเวลา เมื่อได้เสนาสนะที่เหมาะสม และได้เริ่มเจริญกัมมัฏฐานแล้ว ท่านให้ตั้งสติเฉพาะหน้า แล้วตั้งสติระลึกถึงลมหายใจ ด้วยลักษณะ 16 ประการ คือ 1. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว 2. เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจ ออกสั้น อาการที่ลมหายใจยาวหรือสั้นนั้น พึงทราบด้วยระยะทางและช่วงเวลาที่หายใจ เหมือน อย่างน้ำหรือทรายที่แผ่ออกไป เป็นพื้นที่กว้างหรือแคบ ก็เรียกน้ำมากทรายกว้าง หรือน้ำน้อย ทรายแคบฉันใด ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกก็ทำนองเดียวกัน เมื่อแผ่เข้าไปในร่างกาย ของช้างหรืองู ทำให้ลำตัวของมันเต็มช้าและออกมาช้าเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่า 1 มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่มที่ 22 ข้อ 288 หน้า 367 บทที่ 5 อ าน า ป า น ส ติ และ อุปสมานุสติ DOU 129
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More