ข้อความต้นฉบับในหน้า
ในหลักปฏิบัติสาราณียธรรมข้อ 4 เกี่ยวข้องกับการทำให้การเจริญจาคานุสติกัมมัฏฐาน
ของบรรพชิตเป็นไปด้วยดี ในการปฏิบัติสาราณียธรรมข้อนี้พระภิกษุผู้ปฏิบัติจะต้องนำอาหาร
ที่ไปรับบิณฑบาตได้มา ไปถวายพระภิกษุผู้มีพรรษามากกว่าเพื่อนก่อน ถวายลดหลั่นกันลงมา
ตามอายุพรรษา ถ้าจะถวายพระภิกษุอื่นก่อน ต้องเป็นภิกษุประเภทใดประเภทหนึ่งใน 5 อย่าง
คือ
1. ภิกษุสามเณรที่อาพาธ
2. ภิกษุสามเณรที่เป็นผู้รักษาพยาบาล
3. ภิกษุสามเณรที่เป็นอาคันตุกะ
4. ภิกษุสามเณรที่เป็นคัมมิกะ คือ มีธุระที่จะต้องรีบไปทำ
5. ภิกษุสามเณรบวชใหม่ที่ยังครองจีวร อุ้มบาตรไม่เป็น
ในขณะถวาย ผู้ปฏิบัติจะแบ่งถวายไม่ได้ ต้องยกถวายทั้งบาตร แล้วแต่ผู้รับจะตักเอา
เพียงใด หากหมดลง ไม่มีเหลือให้ตนเองบริโภค และยังมีเวลาเหลืออยู่ ก็รับไปบิณฑบาตใหม่
แล้วนำกลับมาถวายตามลำดับพรรษาอีก ทำอย่างนี้จนกว่าจะหมดผู้รับ ถ้าเวลาหมดลงเสีย
ก่อนและอาหารก็หมด ผู้ปฏิบัติต้องยอมอดอาหารในวันนั้น แต่มีข้อสำคัญละเลยไม่ได้เด็ดขาด
อยู่ประการหนึ่ง คือ ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ถือโทษโกรธผู้รับเป็นอันขาด หากเกิดความโกรธขึ้นมา
เมื่อใด แม้จะปฏิบัติด้วยดีจนถึงวันสุดท้ายครบ 12 ปี ก็ย่อมถือว่าการปฏิบัตินั้นไม่สำเร็จ ต้อง
เริ่มต้นใหม่ เมื่อเป็นเช่นนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ความโกรธเกิดขึ้น จึงควรตั้งสติระลึกถึงการ
บริจาคไว้ให้มั่น ย่อมทำให้จิตใจผ่องใสได้
2.15 การเจริญจาคานุสติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค กล่าวไว้ว่า เมื่อเจริญจาคานุสติอย่างนี้แล้วจะทำให้ถึงเพียง “อุปจาร
สมาธิ” แต่ในวิธีปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย เมื่อปฏิบัติจริงๆ แล้วสามารถไปถึงเลยกว่า
“อุปจารสมาธิ” ได้ โดยการปฏิบัติดังนี้
เมื่อระลึกถึงการบริจาคทานของตนตามที่ได้อธิบายมาข้างต้นแล้ว ใจเริ่มสงบและมี
การบริจาคเป็นอารมณ์ ให้นึกน้อมวัตถุทานที่ตนได้ทำไปแล้วหรือกำลังทำอยู่ก็ดี เช่น ไตรจีวร
ดอกไม้ของหอม ปัจจัย 4 ต่างๆ เป็นต้น วางไว้ที่ศูนย์กลางกายพร้อมกับบริกรรมว่า “ปริจาค
ปริจาค” “บริจาค บริจาค” หรือ “ทาน ทาน” “การให้ การให้” อย่างใดอย่างหนึ่ง จนในที่สุด
56 DOU สมาธิ 6 ส ม ก กั ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิ ธี (1)