การเจริญภาวนาในป่า MD 306 สมาธิ 6  หน้า 138
หน้าที่ 138 / 156

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงแนวทางการเลือกสถานที่เพื่อการเจริญอานาปานสติ โดยเสนอให้เลือกเสนาะสนะที่เป็นป่า โคนไม้ หรือเรือนว่าง ซึ่งเป็นที่สงัด ปราศจากสิ่งรบกวน ทำให้การฝึกสมาธิง่ายขึ้น เหตุผลที่แนะนำมี 3 ประการ คือ การเข้าสู่ป่าเหมาะสมต่อการเจริญอานาปานสติ, อานาปานสติเป็นยอดแห่งกัมมัฏฐานที่ทำให้บรรลุคุณวิเศษ, และการสร้างฐานความมั่นคงในการปฏิบัติให้แก่ผู้ปฏิบัติ.

หัวข้อประเด็น

-การเจริญอานาปานสติ
-สถานที่สงัด
-การสร้างสมาธิ
-ความสำคัญของการเลือกสถานที่
-อุปสรรคต่อการทำสมาธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ต้องเข้าไปอยู่ป่า และมีอิริยาบถดังที่กล่าวไว้นั้นดังนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำให้เลือกเสนาะสนะที่เป็น ป่า โคนไม้ หรือเรือนว่าง ว่าเหมาะต่อการเจริญภาวนา เพราะสถานที่เหล่านั้นเป็นที่สงัด ปราศจากสิ่งรบกวน ทำให้เมื่อ เจริญอานาปานสติแล้วใจหยุดนิ่งตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ง่าย เสนาสนะที่พระองค์แนะนำนั้น มี ลักษณะดังนี้ เสนาสนะป่า คือ ที่ที่พ้นจากเขตบ้าน หรือเสนาสนะป่าที่ห่างจากเขตบ้านอย่างน้อย 500 ชั่วธนู (ประมาณ 1 กิโลเมตร) เข้าไปสู่โคนไม้ คือ เข้าไปสู่ที่ใกล้ต้นไม้เพื่อเจริญภาวนา ส่วนการอยู่เรือนว่าง คือ อยู่ในที่สงัดปลอดจากการรบกวน เหตุผลที่ทรงแนะนำที่เหล่านั้นมีอยู่ 3 ประการ คือ 1. การเข้าสู่ป่า โคนไม้ หรือเรือนว่าง ย่อมเหมาะสมต่อการเจริญอานาปานสติ เพราะ จิตนั้นคุ้นอยู่กับการแล่นไปสู่อารมณ์ต่าง ๆ ภายนอกมานาน เมื่อมาเจริญภาวนา จึงไม่รวม หยุดนิ่งได้โดยง่าย เหมือนเกวียนที่เทียมด้วยวัวดื้อ มักแล่นออกนอกทางอยู่เสมอ เพระฉะนั้น คนเลี้ยงโค เมื่อต้องการฝึกลูกโคที่ดื้อ ซึ่งยังกินนมของแม่โคอยู่ ต้องแยกมันออกจากแม่ ปักหลักขนาดใหญ่ไว้ให้มั่นคง แล้วผูกลูกโคไว้กับหลักนั้น ลูกโคนั้นก็จะดิ้นรนไปมาแต่ก็ไม่อาจ หนีไปไหนได้ ในที่สุดก็จะเหนื่อยและหมดพยศนอนหมอบอยู่ที่หลักนั่นเอง ในทำนองเดียวกัน นักปฏิบัติ ผู้ต้องการทรมานจิตที่คุ้นเคยอยู่กับอารมณ์ต่าง ๆ ภายนอก มานาน มีรูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น ต้องพรากจากอารมณ์ มีรูป เป็นต้น นั้นเสีย แล้วเข้าไปสู่ป่า โคนไม้ หรือเรือนว่าง แล้วผูกจิตไว้ด้วยเชือกคือสติ ไว้ที่เสาคือลมหายใจเข้าออก เมื่อจิตถูกผูก ไว้อย่างนั้น แม้จะดิ้นรนไปมาเพราะไม่ได้อารมณ์ที่เคยชิน ก็ไม่อาจตัดเชือกคือสติ หนีไปได้ ย่อมจะต้องหมอบอิงอารมณ์กัมมัฏฐาน และเข้าถึงอุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ได้ในที่สุด 2. อีกเหตุผลหนึ่ง เพราะอานาปานสติ เป็นยอดแห่งกัมมัฏฐานที่ทำให้บรรลุคุณวิเศษ และการเข้าอยู่เป็นสุข (ทิฏฐธรรมวิหาร) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และ พุทธสาวกทั้งปวง ซึ่งผู้ที่ไม่ได้ละทิ้งถิ่นที่ระงมไปด้วยเสียงคน เสียงสัตว์ ยากที่จะทำให้เกิดขึ้นได้ ด้วยเหตุที่ว่า เสียงเป็นอุปสรรคต่อฌาน ส่วนในป่าเป็นการง่ายที่จะทำให้ฌานเกิดด้วยการ เจริญอานาปานสติ แล้วทำฌานให้เป็นฐาน เจริญวิปัสสนาพิจารณาสังขารจนกระทั่งบรรลุ พระอรหัตผลได้ในที่สุด 3. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นเหมือน อาจารย์ผู้ชำนาญการดูพื้นที่ใน การสร้างเมือง เมื่อได้ตรวจตราดูพื้นที่จนตลอดแล้ว จึงชี้บอกให้สร้างเมืองตรงนั้นตรงนี้ เมื่อ สร้างเมืองได้สำเร็จ ก็ย่อมได้รับการสักการะอย่างมากจากราชตระกูลฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้า 128 DOU สมาธิ 6 ส ม ก กั ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิ ธี (1)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More