ข้อความต้นฉบับในหน้า
7. ทำให้มองเห็นภัยในความผิด แม้เป็นความผิดเพียงเล็กน้อย
8. ทำให้รักษาตนเองได้
9. ทำให้คุ้มครองผู้อื่นได้
10. ทำให้ไม่มีภัยในโลกนี้
11. ทำให้ไม่มีภัยในโลกอื่น
12. ทำให้ได้รับอานิสงส์ต่างๆ อันเกิดจากการรักษาศีล เช่นเมื่อสิ้นชีวิตจะไปสู่สุคติ ทำให้
มีโภคทรัพย์ เป็นเหตุให้มีชื่อเสียง ไม่หลงตาย แกล้วกล้าในที่ประชุมชน เป็นต้น และการเจริญ
สีลานุสติอยู่เนืองๆ ทำให้บรรลุอุปจารสมาธิ ทำลายนิวรณ์ได้
2.14 วิธีเจริญจาคานุสติ
จาคานุสติ คือ การระลึกถึงการบริจาค การสละของตนที่เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ โดย
ไม่โอ้อวด ไม่ตระหนี่ ไม่เอาหน้าหรือหวังชื่อเสียง เล็งเห็นคุณของการบริจาค
ในการเจริญจาคานุสติ ผู้บริจาคทานต้องถึงพร้อมด้วยคุณความดี 3 ประการ คือ
1. วัตถุที่บริจาคทานเป็นสิ่งที่ได้มาโดยชอบ
ตที่ตั้งไว้ดีเป็นกุศลตั้งแต่ก่อนบริจาค ขณะบริจาคและ
2. บริบูรณ์ด้วยเจตนา 3 คือมีจิตที่ตั้งไ
เมื่อบริจาคแล้ว
3. เป็นการบริจาคให้พ้นจากความตระหนี่และตัณหามานะทิฐิ
เมื่อการบริจาคทานของตนถึงพร้อมด้วยคุณความดีดังนี้แล้ว ก็มาคำนึงถึงความเป็น
อยู่ของโลกเทียบกับความเป็นอยู่ของตนว่า ตามธรรมดาชนทั้งหลายนั้น โดยมากมักมีความ
ตระหนี่ หวงแหนในทรัพย์สินเงินทองของตน ไม่ใคร่จะยอมบริจาคให้เป็นทาน แต่กลับสนใจ
อยู่ในเรื่องการบำรุงบำเรอ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ กล่าวคือ มีการตกแต่งร่างกายเกินกว่าเหตุ
มีอาหารการบริโภคเกินสมควร สนุกสนานเพลิดเพลิน โอ้อวดซึ่งกันและกันซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่อง
ที่หาสาระไม่ได้ทั้งสิ้น
แต่สำหรับเราในคราวนี้นั้น ย่อมมีโอกาสได้ชัยชนะต่อศัตรูภายใน คือ ความตระหนี่
หวงแหนในทรัพย์สินเงินทองที่มีอยู่ ด้วยการยอมลดละจากการบำรุงบำเรอ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ
มีการตกแต่งร่างกายเกินควร เป็นต้นเสียได้ ซึ่งนับว่าเป็นโชคดีของเราอย่างแท้จริง แต่นี้ต่อไป
54 DOU สมาธิ 6 ส ม ก กั ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิ ธี (1)