โลหิตและเหงื่อในร่างกาย MD 306 สมาธิ 6  หน้า 120
หน้าที่ 120 / 156

สรุปเนื้อหา

โลหิตมี 2 ประเภทคือ โลหิตข้น และ โลหิตจาง ซึ่งต่างกันที่สีและการไหลในร่างกาย โลหิตจางมีสีใสไหลซึมชุ่มทั่วร่างกาย ทำให้หัวใจ ตับ และปอดไม่แห้ง เหงื่อเกิดจากอาโปธาตุไหลออกผ่านขุมขน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและสถานการณ์ ควรจดจำว่าเหงื่อเกิดจากร่างกายมีความร้อนหรืออากาศอบอ้าว การปฏิบัติธรรมเกี่ยวกับเหงื่อเพ่งตามขุมขนเป็นสิ่งสำคัญ

หัวข้อประเด็น

-ประเภทของโลหิต
-คุณสมบัติของเหงื่อ
-บทบาทของโลหิตในร่างกาย
-กระบวนการเกิดเหงื่อ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

24. เลือด (โลหิต) โลหิต มี 2 อย่าง คือ โลหิตข้น และโลหิตจาง โดยสี : โลหิตข้น มีสีดังน้ำครั่งข้น โลหิตจางมีสีดังน้ำครั่งใส โดยสัณฐาน : โลหิตทั้ง 2 อย่างมีสัณฐานตามโอกาส โดยทิศ : โลหิตข้นเกิดในทิศเบื้องบน โลหิตจางเกิดในทิศเบื้องบนและเบื้องล่าง ของร่างกาย โดยโอกาส : โลหิตจางไหลซึมชุ่มทั่วร่างกายไปตามกระแสเส้นโลหิตทั้งในอวัยวะ ทั้งปวงของร่างกาย ยกเว้นผิวหนังที่กระด้างและแห้ง เช่น ผม ขน ฟัน และ เลือดข้นท่วมอยู่ ภายใต้แห่งตับมีประมาณเต็มบาตรหนึ่งค่อยๆ ซึมไปบนไต หัวใจ ตับ และปอด ทำไต หัวใจ ตับ และปอดให้ชุ่มอยู่เสมอ ถ้าไม่ชุ่มอาบไปทั่วหัวใจ ตับ ปอด และม้าม สัตว์ทั้งหลายจะเกิด กระหายน้ำขึ้น โดยปริจเฉท : กำหนดด้วยส่วนของโลหิตเอง มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่อยู่ใน โกฏฐาสะอื่นๆ 25. เหงื่อ (เสโท) เหงื่อ ได้แก่ อาโปธาตุที่ไหลออกตามช่องขุมผมเป็นต้น โดยสี : มีสีดังน้ำมันงาใส โดยสัณฐาน : มีสัณฐานตามที่ตั้งอยู่ โดยทิศ : เกิดในทิศเบื้องบนและเบื้องล่างของร่างกาย โดยโอกาส : เหงื่อไม่มีที่เกิดประจำ แต่เมื่อใดร่างกายอบอ้าว เพราะเหตุต่างๆ เช่น ร้อนไฟ ร้อนแดด และความเปลี่ยนแปลงแห่งฤดู เป็นต้น เมื่อนั้นจึงไหลออกมาตามช่องขุมผม และขนทั้งปวงดุจกำสายบัวที่มีรากและเหง้าที่ตัดไว้ไม่เรียบ ซึ่งคนถอนขึ้นจากน้ำ เพราะฉะนั้น แม้พื้นฐานของเหงื่อนั้นก็พึงทราบโดยช่องขุมผมและขนนั่นเอง ผู้ปฏิบัติธรรมผู้กำหนดเหงื่อ พึงกำหนดเหงื่อตามที่มันยังตั้งเต็มขุมผมและขนนั่นเอง โดยปริจเฉท : กำหนดด้วยส่วนของเหงื่อเอง มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่อยู่ใน โกฏฐาสะอื่นๆ 110 DOU สมาธิ 6 ส ม ก กั ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิ ธี (1)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More