ความหมายของสัมมาสัมพุทโธ MD 306 สมาธิ 6  หน้า 45
หน้าที่ 45 / 156

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายความหมายของคำว่า 'สัมมาสัมพุทโธ' ว่าทรงเป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ จากการตีความคำในพระบาลีและเหตุผลที่พระองค์สามารถตรัสรู้ได้เองโดยไม่มีผู้สอน โดยมีการยกตัวอย่างและคำอธิบายจากพระเดชพระคุณพระภาวนาวิริยคุณ เพื่อให้เข้าใจถึงการรู้ทั้งเหตุและผลของสรรพสิ่งตามความเป็นจริง.

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของสัมมาสัมพุทโธ
-การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
-อำนาจสมาธิและจิตใจ
-คุณวิเศษทั้ง 5 ของพุทโธ
-ความหมายของพระธรรมกาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ไม่มีแก่พระองค์ เพราะเหตุนี้ จึงทรงปรากฏพระนามว่า “พระอรหันต์” 2.3.2 สัมมาสัมพุทโธ ทรงเป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ทรงพระนามว่า “สัมมาสัมพุทธเจ้า” เพราะทรงเป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ คำว่า “พุทโธ” แปลว่า ผู้ตรัสรู้ คำว่า “สัม” ที่นำหน้า “พุทโธ” นั้นแปลว่าด้วย พระองค์เอง ไม่มีผู้อื่นสั่งสอน ส่วนคำว่า “สัมมา” แปลว่า “โดยชอบ” หรือ “โดยถูกต้อง” ดังนั้น “สัมมาสัมพุทโธ” จึงมีความหมายว่า ทรงเป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ หรือทรงเป็นผู้ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยถูกต้อง คำว่า “พุทโธ” เมื่อพิจารณาความหมายตามพระบาลีในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ที่ว่า “จักขุ อุทปาทิ ญาณ์ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ วิชชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิฯ” จะเห็นว่าคุณ วิเศษทั้ง 5 อย่าง ดังบาลีที่ยกขึ้นกล่าวนี้ จะเป็นความหมายของคำว่า “พุทโธ” กล่าวคือ จกฺขุ ญาณ์ ปญฺญา วิชชา อาโลโก ทั้ง 5 อย่างนี้ประมวลเข้าด้วยกันรวมเป็นคำแปลของคำว่า “พุทโธ” ถ้าจะแปลให้สั้นเข้า “พุทโธ” ก็ต้องแปลว่า “ทั้งรู้ทั้งเห็น” มิใช่รู้เฉยๆ โดยอาศัยคำว่า จกฺขุ ญาณ พระเดชพระคุณพระภาวนาวิริยคุณ (หลวงพ่อทัตตชีโว) ให้ความหมายว่า “พระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประการที่ 2 สัมมาสัมพุทโธ คือ พระองค์ทรงทั้งรู้ ทั้งเห็น แทงตลอดในเหตุและผลของสรรพสิ่งทั้งหลายตรงตามความเป็นจริง ด้วยพระธรรมกาย ของพระองค์เอง โดยมิได้มีผู้หนึ่งผู้ใดสั่งสอนเลย” สาเหตุที่พระองค์ทรงสามารถตรัสรู้ด้วยพระองค์เองได้ก็เพราะความเป็น “อรหันต์” ของ พระองค์ดังกล่าวแล้วนั่นเอง เนื่องจากอำนาจสมาธิทำให้จิตของพระองค์สะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากอาสวะทั้งปวง ซึ่งนอกจากจะใสสว่างแล้วยังหยุดนิ่ง จึงมีสิ่งที่ผุดขึ้นในนิ่ง ทำให้รู้พระองค์ ก็ทรงรู้ไปตามนั้น ทำนองเดียวกับน้ำในโอ่งที่นอนนิ่งสนิท ใสบริสุทธิ์แล้ว แม้มีเข็มอยู่ก้นโอ่ง ก็สามารถมองเห็นได้ ข้อนี้ฉันใดก็ฉันนั้น ที่กล่าวว่าพระองค์ตรัสรู้โดยชอบหรือโดยถูกต้องนั้น หมายความว่า “ตรัสรู้ทั้งเหตุ ตรัสรู้ทั้งผล” กล่าวคือตรัสรู้เหตุแห่งทุกข์ เหตุแห่งสุข เหตุไม่ทุกข์และไม่สุข ซึ่งเหตุแห่งทุกข์ ก็คือ อกุศลมูล ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ หรือโลภ โกรธ หลง เหตุแห่งสุขก็ตรงกันข้ามกับ 1 พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตตชีโว), พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ, กรุงเทพฯ : นฤมิต โซล (เพรส) จํากัด, 2546. หน้าที่ 110 บ ท ที่ 2 อ นุ ส ติ 6 DOU 35
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More