โอทาตกสิณและกสิณแสงสว่างในธรรมะ MD 306 สมาธิ 6  หน้า 25
หน้าที่ 25 / 156

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการทำกสิณสีขาวและกสิณแสงสว่าง สำหรับผู้ที่มีบารมีในชาติปางก่อน การเพ่งมองสิ่งต่างๆ เช่น ดอกไม้ สีขาว แสงสว่าง และที่ว่าง เพื่อสำเร็จอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตจนเข้าถึงดวงปฐมมรรค ข้อมูลเหล่านี้ช่วยเป็นแนวทางในการเจริญสมาธิและเข้าใจธรรมะลึกซึ้งยิ่งขึ้น.

หัวข้อประเด็น

-โอทาตกสิณ
-กสิณสีขาว
-กสิณแสงสว่าง
-การเจริญสมาธิ
-ดวงปฐมมรรค
-อุคคหนิมิต
-ปฏิภาคนิมิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

1.4.8 โอทาตกสิณ (กสิณสีขาว) ผู้มีบารมีที่ได้สั่งสมไว้ในชาติปางก่อน เพียงได้เห็นดอกไม้สีขาว ดอกบัวขาว ผ้าขาว เป็นต้น ก็สามารถสำเร็จอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต สำหรับผู้จะจัดทำองค์กสิณสีขาว การจัด ทำองค์กสิณนี้ก็คล้ายคลึงกันกับนีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ คือ เอาดอกไม้สีขาว ผ้าสีขาว หรือ สีขาวธรรมชาติมาทำเป็นดวงกสิณ และอนุโลมให้ใช้สีไข่ไก่ ฟ้าอ่อน เทาอ่อนได้ แล้วบริกรรม ว่า โอทาต์ โอทาต์ หรือ ขาว ๆ ๆ จนเกิดอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตเป็นแก้วมณีสีขาวใส ตาม ลำดับ แล้วใจก็จะตกศูนย์เข้าถึง “ดวงปฐมมรรค” ต่อไป 1.4.9 อาโลกกสิณ (กสิณแสงสว่าง) ผู้มีบารมีที่ได้สั่งสมไว้ในชาติปางก่อนเพียงได้เห็นแสงสว่างที่ฝาบ้านที่ช่องหน้าต่างหรือ จะเห็นแสงสว่างของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์หรือดวงไฟ เป็นต้น ก็สามารถสำเร็จอุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต แต่เมื่อไม่อาจเพ่งดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หรือดวงไฟต่างๆ โดยตรง ก็ต้องทำองค์ กสิณ โดยเจาะฝาเรือนหรือหลังคาบ้าน ให้แสงสว่างลอดเข้ามาปรากฏที่ฝาหรือพื้นเรือน หรือ จุดตะเกียง หรือเปิดไฟไว้ เอาม่านกั้นให้มิดชิด เจาะรูม่านให้แสงลอดออกมาเป็นดวงที่ฝา แล้วเพ่งดูแสงสว่างนั้น บริกรรมภาวนาว่า โอภาโส โอภาโส (แสง ๆ ๆ) หรือ อาโลโก อาโลโก (สว่าง ๆ ๆ) จนอุคคหนิมิตเกิดขึ้นเป็นแสงสว่างไม่ต่างจากบริกรรมนิมิต ส่วนปฏิภาคนิมิต แสงสว่างจะเป็นกลุ่มก้อน มีสีขาวสว่างรุ่งโรจน์กว่าอุคคหนิมิตหลายเท่า จนใจรวมตกศูนย์เข้าถึง “ดวงปฐมมรรค” ต่อไป 1.4.10 อากาสกสิณ หรือ ปริจฉินนากาสกสิณ (กสิณที่ว่างหรืออากาศ) ผู้มีบารมีที่ได้สั่งสมไว้ในชาติปางก่อน เพียงได้เห็นที่ว่าง ๆ เช่น รูฝา ช่องหน้าต่าง เป็นต้น ก็สามารถทำให้อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นได้ สำหรับผู้เจริญอากาสกสิณ ให้ทำองค์กสิณ โดยเจาะฝาเรือนที่มิดชิดหรือ เจาะหลังคาให้เป็นช่องกว้างประมาณ 1 คืบ 4 นิ้ว เพ่งดูอากาศ ที่ปรากฏตามช่องนั้นๆ แล้ว บริกรรมว่า อากาโส ๆ ๆ หรือ ที่ว่าง ที่ว่าง เกิดอุคคหนิมิตเห็น อากาศที่ปรากฏตามช่อง มีขอบเขตเหมือนกับบริกรรมนิมิตทุกประการ จะขยายก็ขยายไม่ได้ ต่อเมื่อได้ปฏิภาคนิมิตแล้วจะปรากฏแต่อากาศอย่างเดียว ไม่ปรากฏขอบเขตทั้งยังสามารถ ขยายขอบเขตให้กว้างใหญ่เพียงไรก็ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วใจก็จะรวมตกศูนย์เข้าถึง “ดวง ปฐมมรรค” ต่อไป บ ท ที่ 1 ก ส ณ 1 0 DOU 15
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More