การกำหนดลมหายใจและการรักษาสมาธิ MD 306 สมาธิ 6  หน้า 148
หน้าที่ 148 / 156

สรุปเนื้อหา

การฝึกสมาธิด้วยการกำหนดลมหายใจเข้าออกมีความสำคัญในทางพระพุทธศาสนา โดยมีการแบ่งประเภทสมาธิตามลักษณะการปฏิบัติ ได้แก่ ขณิกสมาธิ, อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ พร้อมกับการระบุสิ่งที่เป็นสัปปายะและอสัปปายะที่ช่วยส่งเสริมหรือบั่นทอนการปฏิบัติ สมาธิที่ดีควรมีปัจจัยต่างๆ ที่เอื้อต่อการทำสมาธิอย่างเหมาะสม โดยมีคำแนะนำในการรักษาสมาธิ ซึ่งรวมถึงการสะอาดเครื่องใช้และการเว้นจากการเข้าสังคมกับบุคคลที่ไม่มีสมาธิ

หัวข้อประเด็น

-การกำหนดลมหายใจ
-ความสำคัญของสมาธิ
-ประเภทของสมาธิ
-ปัจจัยที่ส่งเสริมและบั่นทอนสมาธิ
-การฝึกปฏิบัติที่ถูกต้อง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การกำหนดลมหายใจเข้าออก ในขณะที่มีบริกรรมนิมิตและอุคคหนิมิตอย่างใดอย่าง หนึ่งเป็นอารมณ์อยู่ สมาธินั้นเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” การกำหนดลมหายใจเข้าออกที่มีปฏิภาค นิมิตเป็นอารมณ์เรียกว่า “อุปจารสมาธิ” การกำหนดลมหายใจเข้าออกที่มีปฏิภาคนิมิตเป็น อารมณ์จนเกิด “ดวงปฐมมรรค” เรียกว่า “อัปปนาสมาธิ” การรักษาปฏิภาคนิมิต ต้องละสิ่ง ที่เป็นอสัปปายะที่จะมารบกวนการปฏิบัติ และให้ถือเอาสัปปายะ สิ่งที่เป็นสัปปายะหรือเป็น ที่สบายมี 7 ประการ คือ 1. อาวาส ที่อยู่เป็นที่สบาย 2. โคจร 3. ภัสสะ 4. บุคคล 5. โภชนะ 6. อุตุ ที่บิณฑบาต หรือแหล่งอาหารไม่อดอยาก พูดคุยแต่เรื่องที่เสริมการปฏิบัติ ผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยแล้วทำให้จิตใจผ่องใสมั่นคง อาหาร ให้พอเหมาะ และถูกกับธาตุขันธ์ สภาพแวดล้อมและอุณหภูมิเหมาะกับร่างกาย 7. อิริยาบถ อิริยาบถเป็นที่สบาย ส่วนอสัปปายะ 7 ประการ คือ สิ่งที่เป็นที่ไม่สบายมี 7 ประการ ตรงข้ามกับสัปปายะ เช่น อาวาสหรือที่พักที่อยู่ไม่สบาย หรืออุตุไม่สัปปายะ คือ อากาศไม่สบายแก่ผู้ปฏิบัติ เช่น ร้อนเกินไป หรือหนาวเกินไป เป็นต้น และควรจะปฏิบัติใน อัปปนาโกศล 10 คือ 1. ทำความสะอาดเครื่องนุ่มห่ม เครื่องใช้สอย ที่อยู่ และชำระร่างกายให้สะอาด 2. ต้องเข้าใจในการกำหนดลมหายใจ 3. ต้องข่มจิตในคราวที่จิตมีความฟุ้งซ่านรำคาญใจ 4. ต้องยกจิตในคราวที่จิตง่วงเหงา หรือ เกียจคร้านในการเจริญภาวนา 5. ทำจิตที่เหี่ยวแห้งให้เบิกบานปีติโสมนัส 6. วางเฉยต่อจิตที่กำลังดำเนินงานสม่ำเสมออยู่ในอารมณ์กัมมัฏฐาน 7. เว้นการคลุกคลีกับคนที่ไม่มีสมาธิ 8. คบหาแต่กับบุคคลที่มีสมาธิ 9. อบรมอินทรีย์ 5 (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) 10. มีจิตน้อมที่จะได้อัปปนาฌาน 138 DOU สมาธิ 6 ส ม ก กั ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิ ธี (1)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More