การเจริญอนุสติ 6 เพื่อการพัฒนาจิตใจ MD 306 สมาธิ 6  หน้า 39
หน้าที่ 39 / 156

สรุปเนื้อหา

อนุสติ 6 ประการเป็นแนวทางที่ช่วยให้จิตใจมีความยินดีและสามารถป้องกันอันตราย นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมศรัทธาและทำให้จิตใจสงบ ยิ่งไปกว่านั้น พระอริยสาวกที่เจริญอนุสตินี้จะสามารถรู้จักอรรถธรรมได้อย่างชัดเจน ทำให้จิตไม่ถูกกลุ้มรุมด้วยราคะ โทสะ หรือโมหะ โดยพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า อริยสาวกที่ระลึกถึงพระตถาคตจะมีจิตที่ดำเนินไปตรงตามทางเทพสงบสุข สามารถเสวยสุขได้เมื่อมีจิตที่สงบและประกอบด้วยปีติ นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงกับเนื้อหาในอนุสติฏฐานสูตรที่กล่าวถึงคุณของการเจริญอนุสติ 6 โดยสรุปแล้วคือการพัฒนาจิตที่สามารถเข้าถึงอรรถและธรรมที่ทำให้เกิดความสุขทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างแท้จริง โดยมีปรัชญาซึ่งสามารถนำมาศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-การเจริญอนุสติ
-การพัฒนาจิตใจ
-ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา
-วิปัสสนาและการปฏิบัติธรรม
-ผลของการเจริญอนุสติ
-จิตที่ตั้งมั่นและสงบ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

1. เป็นแนวทางที่ใช้สำหรับทำจิตให้มีความยินดีในเมื่อจิตตกเป็นเหยื่อของความทุกข์ และเพื่อที่จะก่อให้เกิดวิปัสสนาเมื่อปฏิบัติก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป 2. เป็นเครื่องป้องกันอันตรายต่าง ๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อนักปฏิบัติธรรมอยู่ในที่เปลี่ยว เช่น ในป่า หรือป่าช้า เป็นต้น โดยอนุสติ 3 อย่างแรก ท่านแนะนำให้เจริญเพื่อคุ้มครองตนเอง ในเวลาที่มีความกลัวหรือสิ่งร้ายใด ๆ เกิดขึ้น 3. เป็นกัมมัฏฐานที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีศรัทธาแรงกล้า และส่งเสริมศรัทธาให้มีขึ้น สำหรับผู้ที่ไม่มีศรัทธามาก่อน อนุสติทั้ง 6 ประการนี้ท่านกล่าวไว้ในมหานามสูตรว่า เป็นข้อปฏิบัติของพระอริย สาวกที่บรรลุมรรคผลแล้ว ข้อปฏิบัตินี้จะทำให้เป็นผู้รู้อรรถรู้ธรรม จิตตั้งมั่น และอยู่อย่างเป็นสุข ดังที่ตรัสไว้ว่า “ดูก่อนมหานามะ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผลทราบชัดพระศาสนาแล้ว ย่อมอยู่ด้วยวิหาร ธรรมนี้เป็นส่วนมาก คือ อริยสาวกในพระศาสนานี้ ย่อมระลึกถึงพระตถาคตเนือง ๆ ว่า แม้ เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงถึง พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่น ยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดูก่อน มหานามะ สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระตถาคตเนืองๆ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภพระตถาคตย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจประกอบ ด้วยปีติกายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น” ในอนุสติฏฐานสูตร ได้กล่าวถึงคุณของการเจริญอนุสติ 6 ซึ่งมีเนื้อความคล้ายกับที่ ปรากฏในกัจจานสูตร มีเนื้อความดังนี้ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระตถาคต สมัยนั้น จิตของ พระอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็น จิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต, มก. เล่มที่ 36 ข้อ 281 หน้า 529 บ ท ที่ 2 อ นุ ส ติ 6 DOU 29
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More