การศึกษาสมถะและวิปัสสนาในพระพุทธศาสนา จากยอดดอย หน้า 27
หน้าที่ 27 / 281

สรุปเนื้อหา

การศึกษาสมถะและวิปัสสนาของพระพุทธศาสนาแสดงถึงความสำคัญของการทำใจให้หยุดเพื่อเข้าถึงภูมิของสมถะ โดยการทำสมถะนั้นหมายถึงการระงับหรือทำใจให้นิ่ง ขณะเดียวกันวิปัสสนาก็มีการศึกษาภูมิที่แตกต่างกัน ซึ่งประกอบด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ และอริยสัจ ก่อนที่จะทำสมถะได้ จะต้องมีการหยุดใจเสียก่อน พระมงคลเทพมุนีได้นำเสนอวิธีทำสมถะไปยังศูนย์กลางกายและอธิบายถึงผลของการหยุดใจที่จะเห็นประสบการณ์ที่ชัดเจนในการปฏิบัติธรรม

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของสมถะ
-วิธีการทำสมถะ
-การหยุดใจในการปฏิบัติธรรม
-ความหมายของวิปัสสนา
-องค์ประกอบของวิปัสสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระพุทธศาสนา ผู้พูดนี้ได้ศึกษามาตั้งแต่บวช พอบวชออกจากโบสถ์แล้ว ได้วันหนึ่ง รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่งก็เรียนทีเดียว เรียนสมถะทีเดียว ไม่ได้หยุดเลย จนกระทั่งถึงบัดนี้ บัดนี้ทั้งเรียนด้วย ทั้งสอนด้วย ในฝ่ายสมถวิปัสสนาทั้ง ๒ อย่างนี้ สมกะมีภูมิแค่ไหน สมกะมีภูมิ ๔๐ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสติ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ อาหาเรปฏิกูล สัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๑ อรูปฌาน ๔ ทั้ง ๔๐ นี้เป็นภูมิของสมถะ วิปัสสนามีภูมิ 5 ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาทธรรม ๑๒ (ธรรมอาศัยซึ่งกันและกันเกิดขึ้น) นี้เป็นภูมิของ วิปัสสนา ภูมิสมถวิปัสสนาทั้ง ๒ นี้ เป็นตำรับตำราในทางพระพุทธศาสนา ได้ใช้กันสืบมา แต่ภูมิของสมถะที่เราจะพึงเรียนต่อไปนี้ เริ่มต้นต้องทำใจให้ หยุดจึงจะเข้าภูมิของสมถะได้ ถ้าทำใจให้หยุดไม่ได้ก็เข้าภูมิสมถะไม่ได้ สมถะเขาแปลว่า ระงับ แปลว่าหยุด แปลว่านิ่ง ต้องทำใจให้หยุด ใจของเรา อะไรที่เรียกว่า “ใจ” เห็นอย่าง ๑ จำอย่าง ๑ คิดอย่าง ๑ รู้อย่าง ๑ สี่อย่าง นี้รวมเข้าเป็นจุดเดียวกัน นั่นแหละเรียกว่าใจ” พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี ได้สอนวิธีทำสมถะและ วิปัสสนาต่อไปว่า ให้นำใจมาหยุดที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ (กึ่งกลางกาย เหนือระดับสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ) “หยุดนั่นเองเป็นตัวสำเร็จ ทั้งทางโลก และทางธรรม สำเร็จหมด” แล้วบอกต่อไปว่า ผลแห่งใจหยุดนั้นเป็นอย่างไร คือเห็น 5 ดวงถึงกาย 5 ดวงถึงกาย(ไม่ใช่นิมิตหลอนอย่างที่บางคนเข้าใจ ผิด) แล้วสรุปสมถวิปัสสนา เป็นรูปธรรมชัดเจนว่า ะ “ตั้งแต่กายมนุษย์ถึงกายอรูปพรหมละเอียด แค่นั้นเรียกว่า สมถะ ตั้งแต่กายธรรมโคตรภู ทั้งหยาบทั้งละเอียดจนกระทั่งถึงกาย- ๒๗ จากยอดดอย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More