ข้อความต้นฉบับในหน้า
๒๖๔
๔.๕ สัทธาจริต ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ มีจิตซาบซึ้ง
ชื่นบาน น้อมใจเลื่อมใสโดยง่าย จึงควรชักนำใจไปในสิ่งที่ควรแก่ความเลื่อมใส
และความเชื่อที่มีเหตุผล เช่น พิจารณาอนุสติ 5 ข้อต้นๆ
๔.๖ พุทธิจริต หรือญาณจริต ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ
หนักไปทางใช้ความคิดพิจารณา จึงควรส่งเสริมแนะนำให้ใช้ความคิดใน
ทางที่ชอบ เช่น พิจารณาไตรลักษณ์ กรรมฐานที่เหมาะคือ มรณสติ อุป
สมานุสติ จตุธาตุววัฏฐาน และอาหาเรปฏิกูลสัญญา
ส่วนกรรมฐานที่เหลือที่เหมาะสมแก่ทุกบุคคลโดยไม่เลือกว่า
เป็นจริตใด ได้แก่ อาโลกกสิณ กสิณแสงสว่าง) ด้วยการตรึกถึงดวงแก้ว
ดวงใส ดวงสว่าง การทำสมาธิโดยการตรึกถึงดวงใส ๆ นี้ จึงเหมาะสม
กับทุกจริต ทุกเพศ ทุกวัย ทุก ๆ บุคคล
๕. เว้นจากสถานที่ที่เป็นโทษต่อการปฏิบัติ
เช่น ใกล้ถนน มีรถยนต์ มีผู้คนขวักไขว่ ใกล้ตลาด ใกล้สถานที่
เริงรมย์ ใกล้ชุมชน เป็นแหล่งชุมโจร เป็นที่ไม่มีกัลยาณมิตร ผู้มีกัลยาณ
ธรรม ๗ ประการ ดังได้กล่าวมาแล้ว ฯลฯ
5. อยู่ในสถานที่ที่สะดวกสบายในการปฏิบัติ
สงด
๖.๑ มีหนทางไปมาสะดวก ไม่ใกล้ไม่ไกลชุมชนนัก
๖.๒ ไม่มีเสียงอึกทึก กลางวันไม่จอแจด้วยผู้คน กลางคืนเงียบ
๖.๓ ไม่มีสัตว์ร้าย และสัตว์ที่นำความรำคาญมาให้ เช่น แมลงวัน
ยุง เหลือบ งู เสือ ตะขาบ ฯลฯ
๖.๔ เป็นที่บริบูรณ์ด้วยปัจจัย ๔ ทั้งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่พัก
อาศัย และยา
๖.๕ เป็นที่ที่มีพระภิกษุ หรือพหูสูต ผู้แตกฉานในธรรม
จากยอดดอย