ข้อความต้นฉบับในหน้า
๑๐๐
เมื่อได้บรรพชาแล้ว สามเณรบัณฑิต ได้ช่วยเหลืองานในวัด ๗ วัน
วันที่ ๘ พระสารีบุตรจึงให้สามเณรไปบิณฑบาตกับตน เมื่อเดินไปใน
ระหว่างทาง เห็นชาวนาคนหนึ่งกำลังก้มหน้าก้มตาทำอะไรอยู่ สามเณรจึง
ถามพระอุปัชฌาย์ว่า “ท่านอาจารย์ คนนั้นเขาทำอะไรอยู่ครับ” “เขาไขน้ำ
เข้านา” พระสารีบุตรตอบ สามเณรน้อยได้ถามต่อไปว่า “ก็น้ำมีจิตไหมครับ”
จึงได้คำตอบว่า “ไม่มี” สามเณรบัณฑิตเดินไปพลางครุ่นคิดไปพลาง “น้ำ
ไม่มีจิตใจ คนทั้งหลายยังทำให้น้ำไหลไปในที่ที่ตนต้องการได้ คนเรา
มีจิตใจ ก็จิตใจของเราแท้ๆ ทําไมจะควบคุมไม่ได้ เราต้องควบคุมใจ
เราได้ ด้วยการฝึกสมาธิสินะ”
สามเณรน้อยเดินบิณฑบาตตามหลังพระสารีบุตรไปเรื่อยๆ เห็น
ชายหนุ่มกลุ่มหนึ่งกำาลังเอาลูกศรลนไฟแล้วเล็งลูกศรด้วยหางตา
“ท่านอาจารย์ครับ คนเหล่านี้เป็นใครครับ” สามเณรถามด้วย
ความสงสัย “เขาเรียกว่าช่างศร” พระสารีบุตรตอบ สามเณรถามต่อว่า
“พวกเขาทำอะไรอยู่ครับ” พระสารีบุตรผู้เปี่ยมไปด้วยเมตตาได้อธิบายว่า
“ช่างศรเขากำลังเอาลูกศรมาลนไฟ จากนั้นก็จะนำมาดัดให้ตรง” สามเณร-
น้อยไม่ลดละคำถามได้ถามคำถามตามประสาเด็ก ๗ ขวบว่า “ก็ลูกศรมี
จิตไหมครับ” จึงได้คำตอบว่า “ไม่มี” สามเณรน้อยบัณฑิตเดินต่อไปด้วย
อาการสงบสมเป็นสมณะน้อย แต่ในใจยังครุ่นคิดถึงเหตุการณ์เมื่อสักครู่อยู่
“ลูกศรไม่มีจิตใจ คนทั้งหลายยังลนไฟแล้วดัดให้ตรงได้ คนเรามีจิตใจ
ก็จิตใจของเราแท้ๆ ทำไมจะดัดให้ตรงต่อหนทางแห่งความดีไม่ได้
เราต้องดัดใจของเราให้ตรงได้ ด้วยการฝึกสมาธิสิน่ะ”
ครั้นสามเณรเดินต่อไป เห็นชายหนุ่มกลุ่มหนึ่งกำลังถากไม้อยู่
ด้วยความขมีขมัน
“ท่านอาจารย์ครับ คนเหล่านี้เป็นใครกันครับ” สามเณรน้อยถาม
“เขาเรียกว่า ช่างถากไม้จ้ะ” พระสารีบุตรตอบ สามเณรถามต่อไปว่า
“พวกเขากำลังหาอะไรอยู่หรือครับ” พระสารีบุตรผู้ไม่เบื่อในการซักถาม
ของศิษย์ก็ได้ตอบว่า “พวกช่างถากไม้กำลังถากไม้เป็นกำกงบ้าง เป็นดุมบ้าง
จากยอดดอย