ข้อความต้นฉบับในหน้า
๒๖๘
ควรเป็นผู้แสวงหาโอกาสในการทําใจให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายอยู่เสมอ
ไม่รอโอกาส แต่เป็นผู้สร้างโอกาส แสวงหาโอกาสให้แก่ตนเอง
๒. ธรรมดาไก่ ย่อมตื่นแต่เช้าฉันใด นักปฏิบัติธรรมย่อมตื่นแต่
เช้าฉันนั้น คือนักปฏิบัติธรรมควรเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน ปรารภความเพียร
อยู่เสมอ ไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านไปเปล่า
ธรรมดาไก่ ย่อมคุ้ยเขี่ยพื้นดินหากินอาหาร รู้จักสิ่งควรกิน
ไม่ควรกินฉันใด นักปฏิบัติธรรมย่อมพิจารณาแล้วจึงบริโภคอาหาร ไม่
บริโภคเพื่อให้เกิดความคึกคะนอง ความมัวเมา ความสวยงามแห่งร่างกาย
บริโภคเพียงเพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ได้ เพื่อจะได้สร้างบารมีต่อไป และเพื่อ
บรรเทาเวทนาเก่า กำจัดเวทนาใหม่ฉันนั้น คือนักปฏิบัติธรรมควรเป็นผู้
“อิ่มท้อง อิ่มปัญญา พาอิ่มใจ” ไม่เป็นแบบ “อิ่มท้อง พร่องปัญญา พา
พร่องใจ” และก่อนบริโภค ขณะบริโภค หลังบริโภค ก็ตรึกถึงธรรมะ
ภายในเสมอ เช่น อาจจะมีคำขวัญ เตือนใจว่า
“ข้าวทุกคำ คือดวงธรรมภายใน”
“ข้าวทุกคำ คือกิเลสลดละ องค์พระใสสว่าง” เป็นต้น
แล้วจะเป็นเหตุให้ “อิ่มท้อง อิ่มปัญญา พาอิ่มใจ” อย่างสมบูรณ์
๔. ธรรมดาไก่ตาดี ย่อมมองอะไร ๆ ได้ถนัดในเวลากลางวัน
แต่ในเวลากลางคืน กลับมีตาฝ้ามีดไปดุจตาบอดฉันใด นักปฏิบัติธรรม
ถึงตาไม่บอดก็ควรทำเป็นเหมือนคนตาบอดฉันนั้น คือนักปฏิบัติธรรมควร
เป็นผู้หนักแน่นในอารมณ์ มีความสำรวมอินทรีย์ไม่ยินดียินร้ายในรูป เสียง
กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์อันน่ายินดี
๕. ธรรมดาไก่ ถึงบุคคลจะขว้างปาด้วยไม้ ด้วยก้อนดิน จะมี
ให้ไก่นั้นเข้ารัง ให้ลืมรังเสีย ไก่ย่อมไม่ทิ้งที่อยู่ของตนฉันใด
นักปฏิบัติธรรม ถึงจะมีกิจวัตร กิจกรรมมากมายเพียงไร ก็ไม่ควรทิ้ง
โยนิโสมนสิการฉันนั้น คือนักปฏิบัติธรรมควรเป็นผู้มีใจใฝ่ในธรรมะ ตรึก
ในธรรมะเสมอ กล่าวคือ แม้จะมีภารกิจในชีวิตประจำวันมาก มายเพียงไร
จากยอดดอย