ข้อความต้นฉบับในหน้า
ใกล้
๓.๑ ปิโย เป็นผู้น่ารัก น่าเลื่อมใส มีเมตตา ชวนให้อยากเข้า
๓.๒ ครุ เป็นผู้ควรเคารพ เป็นผู้หนักแน่นในคุณธรรม
๓.๓ ภาวนีโย น่าสรรเสริญ มีจิตใจเที่ยงธรรม มีความอ่อนน้อม
ถ่อมตน เป็นผู้ฝึกฝนตนเอง ควรแก่การเอาอย่าง ควรแก่การเอ่ยถึงด้วย
ความภูมิใจ
๓.๔ วัตตา มีความสามารถอบรมแนะนำ รู้จักพูด รู้จักชี้แจง
แนะนำ เป็นที่ปรึกษาที่ดี
๓.๕ วจนักขโม อดทนต่อถ้อยคำ ถ้อยคำที่ซักถาม ข้อเสนอแนะ
๓.๖ คัมภีรัญจะกถัง กัตตา สามารถแถลงเรื่องล้ำลึกได้ อธิบาย
เรื่องยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจง่าย
๓.๗ โน จัฏฐาเน นิโยชเย ไม่แนะนำในทางที่ผิด
เมื่อพบบุคคลผู้มีคุณสมบัติอย่างนี้แล้ว ควรเข้าไปรับใช้ เงี่ยหูฟัง
รับไปปฏิบัติ รับรองว่าสมาธิของเราจะต้องสมหวังในไม่ช้า
๔. ศึกษาอบรมและปฏิบัติกรรมฐานที่เหมาะสมกับจริตของตน
๔.๑ ราคจริต ผู้มีราคะเป็นความประพฤติปกติ หนักไปทางรัก
สวยรักงาม ควรเจริญอสุภะ ๑๐ โกฏฐาสะ ๓๒ (กายคตาสติ)
๔.๒ โทสจริต คนใจร้อน หงุดหงิดง่าย กรรมฐานที่เหมาะคือ
พรหมวิหาร และกสิณ โดยเฉพาะ วัณณกสิณ
๔.๓ โมหจริต คนเขลา เหงาซึม เงืองงง งมงาย ควรเจริญอา
นาปานสติ ประกอบไปกับการเรียน ถาม ฟังธรรม สนทนาธรรมตามกาล
หรืออยู่กับครู
๔.๔ วิตกจริต ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ นึกคิดจับจด
ฟุ้งซ่าน ควรแก้ด้วยสิ่งที่สะกดอารมณ์ เช่น เจริญอานาปานสติ หรือเพ่ง
กสิณ
๒๖๓
จากยอดดอย