การเข้าถึงพระธรรมกายในยุคปัจจุบัน จากยอดดอย หน้า 264
หน้าที่ 264 / 281

สรุปเนื้อหา

ในยุคปัจจุบัน ผู้เข้าถึงพระธรรมกายมีทั้งผู้ที่ทำและไม่ได้ทำ คนที่ไม่ได้ทำมี 2 ประเภทหลัก ๆ คือ ผู้ที่ไม่เห็นคุณค่าของการปฏิบัติสมาธิ และผู้ที่ทำแต่ไม่จริงจัง การทำสมาธิอย่างถูกต้องก็เป็นสิ่งสำคัญเพื่อเข้าถึงความสุขที่แท้จริง โดยต้องทำใจให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ตามที่พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) ได้ชี้แจงไว้ในหลากหลายลักษณะ

หัวข้อประเด็น

- คนที่เข้าถึงพระธรรมกาย
- ความสำคัญของการปฏิบัติสมาธิ
- วิธีการหยุดใจให้ถูกวิธี
- ความแตกต่างระหว่างทำไม่ได้และไม่ได้ทำ
- การสืบทอดคำสอนจากหลวงพ่อวัดปากน้ำ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๒๗๒ เข้าไม่ถึง ๒ างพระ - ในยุคปัจจุบัน มีทั้งผู้เข้าถึงพระธรรมกาย และเข้าไม่ถึงพ ธรรมกาย ผู้ที่เข้าไม่ถึงพระธรรมกายมี ๒ จำพวกใหญ่คือ ๑. พวกไม่ได้ทำ คือ บุคคลผู้ไม่ลงมือปฏิบัติสมาธิภาวนา เพราะ ไม่เห็นคุณค่าบ้าง ไม่มองชีวิตตามความเป็นจริงบ้าง ฯลฯ ๒. พวกทำไม่ได้ คือ บุคคลผู้ลงมือปฏิบัติสมาธิภาวนา แต่ทำ ไม่จริง เช่นนั่งสมาธิวันละ ๑๐ นาที แต่ไปคุยเรื่องไร้สาระ ๓ ชั่วโมง บ้างก็ ทำๆ หยุด ๆ เช่น บางวันอารมณ์ดี ก็นั่งวันละ ๒-๓ ชั่วโมง บางวันก็ไม่นั่ง เลย โบราณว่า “ทำแบบกระรอกกระแต” เดี๋ยววิ่ง เดี๋ยวหยุด ย่อมไม่ ประสบความสำเร็จ พวกทำไม่ได้อีกประเภทหนึ่งก็คือ พวกทำจริงแต่ทำผิดวิธี ประเภทนี้ น่าเห็นใจที่สุด คือเป็นบุคคลที่เห็นคุณค่าการเข้าถึงพระธรรมกายมาก รู้ดี ว่าเข้าถึงแล้วมีประโยชน์อย่างไร แล้วลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง แต่อนิจา ความอยากนำหน้า ปัญญาจึงตามมาไม่ทัน หยุดเป็นตัวสําเร็จ วิธีการเข้าถึงพระธรรมกาย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า วิธีการเข้าถึงความ สุขที่แท้จริง ก็คือ การทําใจให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ อย่างสบายๆ หยุดใจอย่างถูกวิธี ดังตัวอย่างของพระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) ที่ท่านเล่าถึงพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ว่า “หยุดอย่างเดียว หยุดเป็นตัวสําเร็จ” ค่านี้เป็นค่าที่พระผู้มีพระ ภาคเจ้า ท่านทรงสอนตลอดเวลาที่ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ท่านได้ค้นพบต่อมาในภายหลัง หลังจากที่คำว่า “ธรรมกาย” และคำว่า “หยุด” ได้สูญหายไปจากโลกนี้ แล้ว แต่มีปรากฏตามคัมภีร์ต่าง ๆ แต่ว่าไม่มีใครอธิบายได้ว่า “หยุดเป็นตัว สำเร็จ” นั้นแปลว่าอะไร หมายถึงอะไร หรือคำว่า “ธรรมกาย” มีลักษณะ จากยอดดอย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More