บัณฑิตย่อมฝึกใจ จากยอดดอย หน้า 97
หน้าที่ 97 / 281

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเล่าถึงความเรียกร้องในการฝึกสมาธิและประสบการณ์ของเด็กชายบัณฑิตผู้เกิดเหตุอัศจรรย์ที่ทำให้คนรอบข้างเฉลียวฉลาดขึ้น ก่อนที่เขาจะตัดสินใจบวชในวัยเพียง 7 ขวบ โดยมีพระสารีบุตรเป็นอุปัชฌาย์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการฝึกใจและการมีสติในชีวิต.

หัวข้อประเด็น

-การฝึกสมาธิ
-ชีวิตและความคิดของเด็กชายบัณฑิต
-อาจารย์พระสารีบุตร
-พุทธศาสนาและการบวช
-การสติและการรับรู้

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บัณฑิตย่อมฝึกใจ | (พ.ศ. ๒๕๓๙) หลายคนอยากฝึกสมาธิ แต่มักจะบอกว่า มีธุระมากบ้าง กลัวฝึก ไม่ได้บ้าง ลองศึกษาชีวประวัติ ของ “สามเณรบัณฑิต” ดู ณ กรุงสาวัตถี ธิดาคนโตในครอบครัวอุปัฏฐากของพระสารีบุตร ได้คลอดบุตรชายมาคนหนึ่ง เมื่อเด็กคนนี้ถือปฏิสนธิในท้องได้เกิดเหตุ อัศจรรย์ขึ้นในบ้านคือมีบริวารบางคนที่เซ่อ ๆ ซ่า ๆ บางคนก็เป็น ประเภทเข้าใจอะไรก็แสนยาก พูดอะไรก็ไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่พอเด็กคนนี้ มาปฏิสนธิ คนเหล่านี้กลับกลายเป็นผู้ฉลาด เข้าใจอะไรได้ง่าย มีปัญญา หลักแหลม เด็กน้อยคนนี้จึงได้ชื่อว่า “เด็กชายบัณฑิต” ตั้งแต่นั้นมา ครั้นเด็กชายบัณฑิต อายุได้เพียง ๗ ขวบ มีความคิดอยากจะบวช จึงได้ขอมารดา มารดาก็อนุญาตและอาราธนาพระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์ จากยอดดอย ๙๙
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More