ข้อความต้นฉบับในหน้า
๒๗๐
ดีว่า แม้กิเลสจะขจัดยากเพียงไหน แต่หากเราหมั่นเพียรนั่งสมาธิเสมอ
กิเลสย่อมทุเลาเบาบางลง จนกระทั่งหมดได้ในสักวันหนึ่ง
๔. ธรรมดาไฟ ย่อมไม่มีความยินดียินร้าย มีแต่ทำให้เกิดความ
ร้อนฉันใด นักปฏิบัติธรรมก็ควรมีใจเสมอด้วยไฟ ปราศจากความ
ยินดียินร้ายฉันนั้น คือนักปฏิบัติธรรมควรเป็นผู้ไม่ยินดียินร้ายในสิ่งทั้งปวง
มุ่งหวังให้จิตใจบริสุทธิ์ เท่านั้น
๕. ธรรมดาไฟ ย่อมกำจัดความมืด ทำให้เกิดความสว่างฉันใด
นักปฏิบัติธรรมก็ควรกำจัดความมืดคืออวิชชา ทำให้เกิดความสว่าง คือ
ญาณฉันนั้น คือนักปฏิบัติธรรม ย่อมทำจิตให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายจนเกิด
ความสว่างภายใน เป็นความสว่างที่ “เห็น” ได้จริงๆ ไม่ใช่เพียงเป็นคำอุปมา
เป็นความสว่างที่ก่อให้เกิด “ญาณ” ขจัดกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นไปได้อย่าง
แท้จริง
หลักการสอนในพระพุทธศาสนา หลักสำคัญหลักหนึ่งก็คือ การสอน
จากการมองสิ่งภายนอกที่มนุษย์ทั่วไปเข้าใจได้ง่าย แล้วให้มองย้อน
กลับเข้ามาหาตัว พิจารณาด้วยปัญญา ด้วยโยนิโสมนสิการ เพื่อให้
เกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด จนกระทั่งใจสงบ ใจหยุด ใจนิ่ง เมื่อ
ใจหยุดนิ่งถูกส่วนก็จะเข้าถึงพระรัตนตรัยภายในคือพระธรรมกายนั่นเอง
มองเป็นคิดเป็น ย่อมเห็นซึ่งธรรม
มองกลางสุขล้ำา ถึงธรรมกาย
จากยอดดอย
นานารัตน์ประดับกาย พระไตรรัตน์ประดับใจ