ความเมาในจิตใจมนุษย์ จากยอดดอย หน้า 176
หน้าที่ 176 / 281

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความเมาในจิตใจมนุษย์ที่ถูกแบ่งออกเป็น 10 ประเภท เช่น ความเมาในสมบัติ ความเมาในอำนาจ และความเมาในบริวาร พร้อมกับการเตือนให้มีสติในการคิดถึงความชั่วและความดีที่เราสร้างขึ้น ซึ่งเป็นสวัสดิการที่แท้จริงของเรา การเตือนให้เห็นถึงความไม่แน่นอนของโลกและตัวตน ขอให้เข้าใจว่าความดีที่เราเก็บสะสมจะตามเราไปตลอดกาล.

หัวข้อประเด็น

-ความเมาในสมบัติ
-ความเมาในอำนาจ
-ความเมาในบริวาร
-การสร้างสติ
-การพัฒนาจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๑๗๘ แรกอาจจะสังเกตเห็นได้ชัดเจน แต่ความเมาลักษณะที่ ๒ ไม่ค่อยมีใคร สังเกตเห็น หรือสังเกตออกแต่ก็แยกแยะไม่ออก จนกระทั่งพระสัมมา สัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้วทรงแสดงธรรมที่ยังความเมาให้สร่าง (ภาษาบาลีว่า มทนิมฺมทโน) ซึ่งทรงได้แจกแจงความเมาในจิตใจมนุษย์ออกเป็นดังนี้ ความเมา ๑๐ อย่าง ๑. ความเมาในสมบัติแห่งชาติสกุล คิดว่าประเทศของตน ตระกูลของตนมีความมั่นคง มีความมั่งคั่งแล้วจึงประมาท จึงมีสติเตือน ตนอยู่เสมอว่า แก้วแหวนเงินทองที่บรรพชนและตนได้สะสมมานั้นอาจถูก ทำลายได้ภายในวันเดียว แต่ความดีที่เราสะสมแม้เพียงวันเดียวนั้นจะ สามารถติดตามเราไปได้ตลอดกาลนาน “ความดี” จึงเป็นสมบัติที่แท้จริง ของเรา ๒. ความเมาในอิสริยะ คิดว่าตนมีความยิ่งใหญ่ มีอำนาจแล้ว จึงประมาท จึงมีสติเตือนตนเสมอว่า ไม่มีใครเลยที่จะรักษาความยิ่งใหญ่ ความมีอำนาจไว้ได้ตลอดกาล สักวันหนึ่งดาวทุกดวงก็ต้องร่วงตกลงสู่พื้นดิน ก่อนดาวจะตก ได้เป็น “ดาวกลางใจ” ของมหาชนหรือยัง ๓. ความเมาในบริวาร คิดว่าตนมีพวกพ้องบริวารมาก แล้วจึง ประมาท จึงมีสติเตือนตนเสมอว่า ไม่มีมนุษย์คนไหนที่รักคนอื่นมากกว่า ตัวเอง ตราบใดที่เรายัง “ให้” เขาได้เขาก็อยู่กับเรา เมื่อเราหมดทรัพย์สิน เงินทอง ลองคิดดูสิว่าจากบริวาร ๑๐๐ คน จะเหลืออยู่กับเราสักคนไหม ดังคำกลอนเก่าๆ ที่เขียนกระเช้าไว้ว่า “เมื่อมั่งมีมวลมิตรมุ่งมองหมาย มิตรมากมายหมายมุ่งเมินหมูหมา เมื่อไม่มีหมดมิตรมุ่งมองมา แม้นมอดม้วยหมูหมาไม่มามอง” อีกประการหนึ่งคือการมีพวกพ้องบริวารมาก ถ้าหากไม่สร้าง จากยอดดอย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More