แนวทางการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง จากยอดดอย หน้า 47
หน้าที่ 47 / 281

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมที่นักปฏิบัติธรรมควรรู้คือ สิ่งที่เป็นกุศลและอกุศล เพื่อป้องกันบาปและเพิ่มพูนบุญ โดยการตั้งเข็มทิศใจและมุ่งสู่บุญ นักปฏิบัติธรรมควรเอาใจจดจ่ออยู่ที่ศูนย์กลางกาย รู้จักเวลาที่เหมาะสมในการนั่งสมาธิ และเมื่อจิตสงบได้อารมณ์แห่งสมาธิ ต้องเกิดความมั่นใจเพื่อจะปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจนเข้าถึงธรรมอันแท้จริงคือพระนิพพาน.

หัวข้อประเด็น

-การตั้งเข็มทิศใจ
-การหลีกเลี่ยงบาป
-การมุ่งสู่บุญ
-ความสำคัญของสติในการปฏิบัติธรรม
-การรู้จักเวลาในการปฏิบัติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

นักปฏิบัติธรรมก็ควรรู้จักสิ่งที่เป็นกุศลและอกุศล มีโทษไม่มีโทษ ควร เกี่ยวข้องไม่ควรเกี่ยวข้องและเลวดี ฉันนั้น เพื่อป้องกันบาปอกุศลและเพื่อ เพิ่มพูนบุญกุศลให้ทวียิ่งขึ้นไป ๓. ธรรมดาต้นหนย่อมตั้งเข็มทิศด้วยตนเอง ไม่ให้ผู้อื่น แตะต้องฉันใด นักปฏิบัติธรรมก็ควรตั้งเข็มทิศใจ มุ่งสู่บุญกุศล พร้อมกับ การหักห้ามใจไม่ให้นึกถึงบาปอกุศล ฉันนั้น” องค์ ๔ แห่งนายพราน “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๔ แห่งนายพรานได้แก่อะไร” “ขอถวายพระพร ๑. ธรรมดานายพรานย่อมหลับน้อยฉันใด นักปฏิบัติธรรมย่อมไม่เห็นแก่การหลับนอน ประกอบความเพียรเป็นนิจ ฉันนั้น ๒. ธรรมดานายพรานย่อมผูกใจไว้ในหมู่เนื้อฉันใด นักปฏิบัติธรรมก็ควรเอาใจจดจ่อที่ศูนย์กลางกาย ฉันนั้น ๓. ธรรมดานายพรานย่อมรู้จักเวลางานของตนฉันใด นัก ปฏิบัติธรรมก็ควรรู้จักเวลา ฉันนั้น คือ ควรรู้ว่า เวลานี้เป็นเวลานั่งสมาธิ เวลานี้เป็นเวลาประกอบภารกิจ เป็นต้น ส้ศ ๔. ธรรมดานายพรานพอแลเห็นเนื้อก็เกิดความร่าเริงว่า เรา ด้เนื้อตัวนี้ฉันใด นักปฏิบัติธรรมเมื่อนั่งสมาธิแล้วจิตสงบได้อารมณ์ แห่งสมาธิ ก็ควรเกิดความมั่นใจที่จะปฏิบัติธรรมให้รู้แจ้งเห็นจริงยิ่ง ๆ ขึ้นไป ฉันนั้น” หนี่งในคุณธรรมนักปฏิบัติธรรม อย่างไรก็ตาม นักปฏิบัติธรรมย่อมมุ่งพัฒนาคุณธรรมของตนให้ เจริญงอกงาม อย่างไม่มีที่สิ้นสุด จนกว่าจะเข้าถึงธรรมและบรมสุขคือ พระนิพพาน ๔๗ จากยอดดอย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More