ข้อความต้นฉบับในหน้า
๒๕๔
เริ่มต้นต้องหยุด “หยุด” ตั้งแต่ต้นจนกระทั่งเป็นพระอรหันต์ ถ้าไม่หยุดก็
ไปไม่ได้ ชัดทีเดียว แปลกไหมล่ะ
ไปทางโลกเขาต้องไปกันปราดเปรียวว่องไวคล่องแคล่ว ต้อง
เล่าเรียนกันมากมายจนกระทั่งรู้เท่าทันเหลี่ยมดูผู้คนตลอดสาย
จึงจะ
ปกครองโลกให้รุ่งเรืองเจริญได้ แต่ว่าจะไปทางธรรมนี่แปลก “หยุด”
เท่านั้นแหละไปได้ หยุดอย่างเดียวเท่านั้น”
“หยุด” ๓ นัย
(พระมงคลเทพมุนี)
คำว่า “หยุด” คำนี้มีความหมายลึกซึ้งเป็นชั้น ๆ ไป ตามแต่สติ
ปัญญาและบุญบารมีที่สั่งสมมา คำว่า “หยุด” นี้ มีความหมาย ๓ ระดับ
ดังโอวาทของพระเดชพระคุณพระสุธรรมยานเถร (หลวงพ่อธัมมชโย) ว่า
วิธีจะพ้นทุกข์ได้ต้อง “หยุด” นิโรธ แปลว่าหยุด หยุดคือตัว
สําเร็จ ทําให้พ้นจากทุกข์ทั้งหลายได้
แต่หยุดนี้ ความเข้าใจนั้นไม่เท่ากัน บางคนเห็นอาการเคลื่อนไหว
ของคน เช่น วิ่งแล้วหยุดวิ่ง นั่นคือหยุด อย่างเช่น องคุลิมาลโจรเห็นการ
เสด็จพระดำเนินของพระพุทธเจ้าว่าท่านยังเคลื่อนไหวอยู่ยังไม่เรียกว่าหยุด
แต่ถ้าหยุดเดิน องคุลิมาลโจรเข้าใจว่านั่นคือการหยุด มนุษย์มีความเข้าใจ
เบื้องต้นอย่างนี้
ผู้ที่ศึกษามีภูมิรู้ขึ้นมาหน่อย ก็เข้าใจคำว่า “หยุด” แปลว่า ละ
บาปอกุศล หยุดทําชั่ว นั่นคือความเข้าใจของผู้ที่มีความรู้สูงขึ้น
แต่ความรู้ที่สมบูรณ์ของพระพุทธเจ้านั้น คําว่า “หยุด” ลึกซึ้งไป
กว่านั้นอีก “หยุดใจ” ทําให้ใจหยุดอยู่ภายใน ติดสนิทอยู่ศูนย์กลางกาย
ฐานที่ ๗ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับธรรมกาย ถ้าหยุดอย่างนี้ได้ ความชั่ว
ทั้งหลายไม่เข้าแทรก จะมีแต่ความดีล้วน ๆ ความสุขล้วน ๆ มีพลัง
สติปัญญาล้วนๆ “หยุด” อย่างนี้คือเป้าหมายของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์
จากยอดดอย