การเห็นแบบธรรมจักษุ จากยอดดอย หน้า 120
หน้าที่ 120 / 281

สรุปเนื้อหา

เรื่อง "ตาบอดคลำช้าง" เป็นตัวอย่างของบุคคลที่มีความรู้ไม่สมบูรณ์ ดังที่พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้กล่าวถึงความแตกต่างระหว่างการเห็นด้วยธรรมจักษุและการเห็นตามมนุษย์ การเห็นด้วยธรรมจักษุสามารถมองเห็นรอบตัวแบบสมันตจักษุในทุกทิศทาง และมีมุมมองต่ออดีต ปัจจุบัน อนาคตอย่างครบถ้วน วิปัสสนาเป็นการเห็นที่วิเศษ และเกิดขึ้นพร้อมการเข้าถึงพระธรรมกาย การพัฒนาจิตใจนำไปสู่การเห็นอย่างถูกต้องและแจ่มแจ้ง

หัวข้อประเด็น

- ธรรมจักษุ
- การเห็นด้วยธรรม
- วิปัสสนา
- มุมมองลึกซึ้ง
- ความรู้ทางจิตวิญญาณ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๑๒๒ เรื่อง “ตาบอดคลำช้าง” จึงเป็นตัวอย่างของบุคคลผู้มีความรู้ไม่ สมบูรณ์เพราะมีมุมมองแตกต่างกันไป การเห็นพิเศษ มีการเห็นพิเศษที่เมื่อทุกคนเห็นแล้วจะทำให้ตนเองมีความสุข มี ความรู้สมบูรณ์ คือเห็นด้วย “ธรรมจักษุ ดวงตาธรรมของพระธรรมกาย ซึ่งการเห็นชนิดนี้จะมีความแตกต่างจากการเห็นด้วยดวงตามนุษย์ ดังโอวาท พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ว่า “ธรรมจักษุของพระธรรมกายนั้น เป็นการเห็นที่แตกต่างจาก การเห็นด้วยตามนุษย์ ตามนุษย์นั้นเห็นได้แค่ด้านเดียว อย่างเรามอง เห็นวัตถุก็เห็นได้แค่ด้านเดียว จะดูข้างซ้ายก็ต้องหันไปข้างซ้าย จะดู ทางขวาก็ต้องหันไปทางขวา จะดูข้างหลังก็ต้องกลับหลังอะไรอย่างนั้น เป็นต้น แต่การเห็นด้วยธรรมจักษุนั้นเป็นการเห็นรอบตัว บางครั้ง ท่านใช้คำว่า สมันตจักษุ เห็นได้รอบตัวรอบทิศ ทั้งซ้ายทั้งขวา ทั้งหน้า ทั้งหลัง ทั้งล่างทั้งบน อดีต ปัจจุบัน อนาคต มันทะลุไปหมด นี้ เป็นการเห็นที่แตกต่างจากการเห็นทั่วไป มีคำอยู่คำหนึ่งซึ่งเราได้ยินบ่อยๆ คือคำว่า “วิปัสสนา” ปัสสนาแปล ว่า การเห็น วิแปลว่า วิเศษ แจ้ง ต่าง วิปัสสนา รวมกันแล้วก็แปลว่าการ เห็นอย่างวิเศษ อย่างดีเลิศ อย่างถูกต้อง เห็นได้อย่างแจ่มแจ้ง และก็ แตกต่างจากการเห็นด้วยมังสจักษุ (ตามนุษย์) อย่างนี้ วิปัสสนานี่แหละเป็นคำเดียวที่เกิดขึ้นพร้อมกับการบังเกิดขึ้น ของพระธรรมกาย เพราะพระธรรมกายเท่านั้นจึงจะเห็นได้อย่างวิเศษ อย่างถูกต้องแจ่มแจ้ง แล้วก็แตกต่างจากการเห็นทั่วไป เมื่อใจเราหยุดนิ่ง ดีแล้วเข้าถึงพระธรรมกายแล้ว นั่นคือตัววิปัสสนา เพราะการเห็นนั้นเห็น ได้ด้วยธรรมจักษุ ดวงตาธรรมของพระธรรมกาย แล้วก็หยั่งรู้ได้ด้วยญาณ จากยอดดอย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More