นิวรณ์ 5 : ความเข้าใจและการขจัดกิเลส จากยอดดอย หน้า 172
หน้าที่ 172 / 281

สรุปเนื้อหา

นิวรณ์ 5 เป็นสิ่งที่ทำให้ใจมนุษย์เสื่อมคุณภาพ ประกอบด้วย กามฉันท์, พยาบาท, ถีนมิทธะ, อุทธัจจกุกกุจจะ และ วิจิกิจฉา พระพุทธองค์ได้ยกตัวอย่างเปรียบเทียบเพื่อสื่อให้เห็นถึงผลกระทบของนิวรณ์ต่อจิตใจ เมื่อใจถูกกดทับด้วยกิเลสเหล่านี้ มนุษย์จะไม่สามารถมองเห็นความจริงหรือความงามของชีวิตได้ ดังนั้นการทำความเข้าใจและขจัดสิ่งเหล่านี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อความสุขสงบในชีวิต.

หัวข้อประเด็น

-นิวรณ์ 5
-ความเข้าใจในกิเลส
-พระพุทธองค์และการเปรียบเทียบ
-ผลกระทบของนิวรณ์ต่อตนเอง
-วิธีการขจัดความทุกข์จากกิเลส

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๑๗๔ ให้น้อมไปเพื่อความสิ้นไปแห่งกิเลส สนิมใจมี ๕ อย่าง เรียกว่า นิวรณ์ ๕ คือ ๑. กามฉันท์ ๒. พยาบาท ๓. ถีนมิทธะ ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ๕. วิจิกิจฉา ๑. กามฉันท์ คือความพอใจ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส พระ พุทธองค์ทรงอุปมาว่าเหมือนคนมีหนี้ก็ยอมให้เจ้าหนี้ด่าว่าจองจำ จนกระทั่ง ฆ่าได้ หรือเหมือนน้ำที่ผสมด้วยขมิ้น ย่อมมองเงาหน้าตัวเองไม่เห็น ๒. พยาบาท คือความคิดปองร้าย ไม่ให้อภัยผู้อื่น พระพุทธองค์ ทรงอุปมาว่า เหมือนคนเป็นโรค ย่อมกระสับกระส่ายทุรนทุราย อยู่ไม่เป็น สุข หรือเหมือนน้ำที่ได้รับความร้อน เป็นน้ำเดือดพล่าน มีไอ ย่อมมองเงา หน้าตัวเองไม่เห็น ๓. ถีนมิทธะ คือความหดหูซึมเซา ง่วงเหงาหาวนอน พระ พุทธองค์ทรงอุปมาว่าเหมือนคนที่อยู่ในเรือนจำย่อมไม่รู้ไม่เห็นเหตุการณ์ ข้างนอก หรือเหมือนน้ำที่มีสาหร่ายจอกแหนปกคลุม ย่อมมองเงาหน้าตัว เองไม่เห็น ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ คือความฟุ้งซ่านในความคิดต่างๆ พระ พุทธองค์ทรงอุปมาว่าเหมือนเป็นทาส ถูกนายใช้ให้ทำสิ่งนั้นสิ่ง งนนสงนตลอดเวลา ย่อมไม่เป็นตัวของตัวเอง หรือเหมือนน้ำที่มีลมพัดทำให้น้ำไหลวนเป็นคลื่น ย่อมมองเงาหน้าตัวเองไม่เห็น ๕. วิจิกิจฉา คือความลังเลสงสัย พระพุทธองค์ทรงอุปมาว่า เหมือนคนเดินทางไกลไปในที่กันดาร ย่อมมีความหวาดระแวง ไม่มั่นใจ ในเส้นทางเดิน หรือเหมือนน้ำที่ขุ่นมัวด้วยโคลนตม วางไว้ในที่มืด ย่อม มองเงาหน้าตัวเองไม่เห็น นิวรณ์ทั้ง ๕ นี่เอง ที่ทำให้ใจมนุษย์เสื่อมคุณภาพ ทำให้เราดึง จากยอดดอย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More