การนั่งสมาธิกับพระธรรมกาย จากยอดดอย หน้า 241
หน้าที่ 241 / 281

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงประสบการณ์ของผู้ที่นั่งสมาธิและพบกับองค์พระธรรมกายสีทองที่สวยงาม ขณะที่การนั่งทำให้รู้สึกถึงความสว่างและสุขสบายใจ เมื่อมีการพบกับพระธรรมกายและได้รับการสนับสนุนจากกัลยาณมิตร การนั่งสมาธิยังช่วยให้เข้าใจคำว่า 'ธรรมกาย' อย่างแท้จริง ผู้เขียนยอมรับว่าวิชชาธรรมกายเป็นสิ่งที่ค้นหามาโดยตลอดและทำให้เขาพบความสว่างในจิตใจ

หัวข้อประเด็น

-ประสบการณ์การนั่งสมาธิ
-องค์พระธรรมกาย
-ความสุขในจิตใจ
-การศึกษาและค้นคว้าธรรมะ
-การสนับสนุนจากกัลยาณมิตร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เหมือนเพชร เข้ากลางลูกแก้วก็มีองค์พระพุทธรูปสีทองสวยงามมาก ตัว เองก็ลอยเข้าไปในกลางท้องท่าน เราเข้าไปอยู่ในตัวท่านเลย นั่งวันต่อ ๆ มา รู้สึกว่าองค์พระมีแสงสว่างมากกว่าเดิม เห็นลักษณะเฉพาะภายนอกว่าเป็น องค์พระเท่านั้น แต่รู้สึกมีความสุขสบายใจ เห็นแสงสว่างทั้งท้องบ้าง เห็น องค์พระเข้าไปในลูกแก้วบ้าง ทำให้ลูกแก้วสว่างมากขึ้น พอวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ รู้สึกว่าเข้ากลางศูนย์กลาง- กายตลอดและต่อเนื่อง และก็เห็นพระธรรมกายเป็นแก้วใสปรากฏขึ้น จิต เราที่เข้ากลางเหมือนอยู่กับท่าน เหมือนท่านเป็นผู้พาเราเข้าไปกลาง ลูกแก้วหรือกลางองค์พระตลอดเวลา เมื่อออกจากสมาธิแล้ว รู้สึกว่ากายใส จิตใจโล่งไปหมด สุขใจจริง ๆ” ๒๔๙ (กัลฯ จิระภา เชี่ยวชาญลิขิต) “ผมเป็นชาวไทย-ซิกข์ ตามกำเนิด....ผมเริ่มรู้จักตนเองจริง ๆ เมื่อ อายุราว ๓๐ ปี ผมรู้จักการนั่งสมาธิและค้นคว้าธรรมะเรื่อง ร้อยมา กัลฯ เครือวัลย์ สุขเจริญ เห็นผมสนใจเรื่องศาสนา จึงได้ชี้ชวนให้ผมมาที่นี่ ผมดีใจมากที่เห็นกัลยาณมิตร พี่เลี้ยงและพระอาจารย์ เสียสละ ในภาระนี้ และสบายใจมากที่สุด ณ จุดนี้ เวลานี้ ผมยอมรับว่าวิชชา ธรรมกายนี้เป็นสิ่งที่ผมใฝ่หาอยู่ในส่วนที่ลึกที่สุดของใจ ผมพบความสว่าง โล่ง เบาสบาย และวิธีการที่ถูกต้อง หลังจากพบอุปสรรคมากมาย ผม มีข้อสังเกตนิดหนึ่งนะครับดังนี้ เมื่อหลวงพี่ท่านพูดอะไรที่เป็นความ สบายใจ และผมสัมผัสความรู้สึกที่ดีๆ นั้นอย่างอิ่มเอิบใจที่สุดแล้ว การนั่งสมาธิต่อเนื่องโดยไม่เอาใจไปไว้อื่นเลย ทำให้ผมเข้าใจถึงคำว่า “ธรรมกาย” จริง ๆ ผมขอเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีที่สุด เท่าที่ปัญญาของผมจะพึงมี...” (กัลฯ แซม คานิโยว) จากยอดดอย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More