การมีสติในปัจจุบัน จากยอดดอย หน้า 188
หน้าที่ 188 / 281

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงความสำคัญของการอยู่กับปัจจุบันและไม่ให้ความคิดเกี่ยวกับอดีตหรืออนาคตมาทำร้ายจิตใจ โดยชี้ให้เห็นว่าความสำเร็จในอดีตไม่ได้หมายถึงความสำเร็จในปัจจุบัน และการให้ความสำคัญกับการกระทำในวันนี้จะส่งผลดีในอนาคต พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำยังได้เตือนว่าการมองในมุมนี้ทำให้เราไม่สูญเสียโอกาสในการสร้างคุณค่าให้กับชีวิต และการกระทำอย่างตั้งใจในปัจจุบันจะช่วยเผาผลาญกิเลสและทำให้เรายืนหยัดอย่างมั่นคง.

หัวข้อประเด็น

-การอยู่กับปัจจุบัน
-การพัฒนาและปรับปรุงตนเอง
-การมองอดีตและอนาคตอย่างเข้าใจ
-การตัดสินใจในขณะนี้

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๑๙๐ “ผู้มีปัญญา ไม่ควรตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรหวังสิ่งที่ยัง มาไม่ถึง สิ่งที่ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละเสียแล้ว สิ่งใดยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็ยังไม่ ได้มาถึง ผู้ใดเห็นแจ้งในธรรมที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้าในที่นั้น ๆ ในกาลนั้นๆ ไม่ง่อนแง่นไม่คลอนแคลน ครั้นรู้ธรรมนั้นแล้ว จึงให้ธรรมนั้นเจริญเนือง ๆ ความเพียรเผากิเลส ควรกระทำเสียในวันนี้ ใครเล่าจะพึงรู้ว่า ความตายจะ มีในวันพรุ่งนี้ เพราะว่าความผิดเพี้ยนต่อมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่ ไม่มีเลย ผู้รู้ผู้มีใจสงบระงับ ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้ง กลางวันกลางคืน อยู่ด้วยความไม่ประมาท อย่างนี้ว่า ผู้มีราตรีเดียวเจริญ” อดีต - อนาคต มีคนจำนวนมากที่เสียเวลาจมปลักอยู่กับอดีต บ้างก็เป็นเรื่องขื่นขม ยิ่งนึกถึงยิ่งตรอมตรม...จะให้อดีตทำร้ายปัจจุบันทำไม! เศร้าอยู่คนเดียวจะ มีประโยชน์อะไร! ลืม ๆ มันไปแล้วอยู่กับปัจจุบันไม่ดีหรือ! บ้างก็ เพลิดเพลินกับอดีตอันหวานชื่น บันเทิงใจเมื่อคิดถึง ...อย่าตื่นกับความ สำเร็จในอดีตเลย เพราะปัจจุบันอาจไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว อดีตที่หอมหวาน ไม่ได้หมายถึงปัจจุบันจะหอมหวาน สร้างความสำเร็จเพิ่มขึ้นให้ปัจจุบันไม่ ดีหรือ! มีคนจำนวนมากอีกเช่นกันที่สูญเสียโอกาส สูญเสียเวลาเพราะมัว ปล่อยใจล่องลอยไปในฝันแห่งอนาคต ไม่ประกอบธุรกิจการงานให้เต็มที่ ฝันแต่โชคหวังแต่ลาภ ไม่ทำอะไรเป็นหลักเป็นฐานลงไป นึกอยู่แต่สิ่งนั้นที่ ยังมาไม่ถึง พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำได้ให้ข้อคิดว่า “อย่างนี้เขาเรียกว่ามั่งมีในใจ แล่นใบบนบก เอาจริงเอาแท้ แน่นอนไม่ได้ มีคนคิดเกลื่อนกล่นไม่คิดเป็นหลักฐาน คนที่หวังอย่าง นี้เป็นคนที่ปราศจากปัญญา...” จากยอดดอย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More