นิทานช้างและคนตาบอด จากยอดดอย หน้า 118
หน้าที่ 118 / 281

สรุปเนื้อหา

ในอดีตกาล ณ กรุงสาวัตถี มีพระราชาเห็นช้างงามจึงจัดให้คนตาบอดมาจับช้างแต่ละส่วน เพื่อสำรวจและแสดงมุมมองแต่ละกลุ่ม แตกต่างกัน แม้ว่าจะไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา เรื่องนี้สื่อถึงความจริงที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคน และยังแสดงให้เห็นถึงความเมตตาของพระราชาที่ต้องการที่จะให้คนตาบอดได้สัมผัสความงามของช้าง ทั้งนี้สะท้อนความสำคัญของการเคารพในความคิดเห็นและมุมมองที่แตกต่าง

หัวข้อประเด็น

-พระราชาและช้าง
-คนตาบอดในกรุงสาวัตถี
-ความแตกต่างของมุมมอง
-ความเมตตาและความเอื้อเฟื้อ
-บทเรียนจากนิทาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๑๒๐ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ มหาวิหารเชตวันใกล้ พระนครสาวัตถี พระภิกษุสงฆ์จำนวนมากเมื่อบิณฑบาตและเสร็จภัตกิจแล้ว จึงได้เข้าเฝ้าพระบรมศาสดากราบทูลเรื่องที่นักบวชต่าง ๆ นำความเห็นมา โต้แย้งกัน พระพุทธองค์จึงตรัสเรื่องราวในอดีตว่า อดีตกาล ในอดีตกาล ณ กรุงสาวัตถีนี้เอง มีพระราชาพระองค์หนึ่ง วันหนึ่ง พระองค์ทอดพระเนตรเห็นช้างทรงของพระองค์ มีพระดำริว่า “ยานคือช้าง ตัวเจริญช่างงาม ช่างน่าชมจริงหนอ” ขณะนั้นมีคนตาบอดแต่กำเนิดคนหนึ่ง เดินอยู่บริเวณพระลานหลวง พระองค์จึงมีดำริว่า “คนตาบอดนี้ช่างโชคร้าย เสียจริงที่ไม่ได้เห็นช้างทรงแสนงามปานนี้” แล้วพระองค์มีดำริต่อไป ตามอุปนิสัยรักสนุกของพระองค์ “เออ...เราจะให้คนตาบอดแต่กำเนิดเท่าที่ มีอยู่ทั้งหมด มารวมกันที่นี่แล้วให้เอามือจับต้องช้างคนละส่วน ๆ ดูสิว่า พวกเขาจะพูดว่ายังไง” ตาบอดคลำาช้าง เมื่อเหล่าคนตาบอดในกรุงสาวัตถีมาประชุมกันแล้ว พระราชาจึง ให้เจ้าหน้าที่ประจำราชสำนักคนหนึ่งนำช้างทรง มาให้คนตาบอดกลุ่มหนึ่ง จับศีรษะช้าง อีกกลุ่มหนึ่งให้จับหูช้าง งาช้าง งวงช้าง ตัวช้าง เท้าช้าง หลัง ช้าง โคนหางช้าง ปลายหางช้าง ต่างกลุ่มต่างแยกจับกันคนละส่วน ๆ ตาม ลำดับ ลำดับนั้นพระราชาจึงตรัสถามว่า “ดูก่อนคนตาบอดทั้ง ทั้งหลาย พวกท่านได้เห็นช้างแล้วหรือ” “ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้เห็นแล้วพระเจ้าข้า” พระราชาจึงทรงถามต่อว่า “ท่านทั้งหลาย แล้วช้างเป็นอย่างไร” พวกคนตาบอดที่ลูบค าศีรษะช้าง ได้กราบทูลว่า จากยอดดอย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More